บทที่ 1

บทที่ 1
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ


         1.1.บทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

          บทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ     ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์    และเทคโนโลยี   ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก  เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี  เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน  สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่างๆ   เพื่อตอบสนองความต้อง การของมนุษย์มากขึ้น เทคโน โลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก   การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากร ในโลกติดต่อรับฟังข่าว สารกันได้ตลอดเวลา พัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไปมาก ลองย้อนไปในอดีตโลกมีกำเนินมาประมาณ  4600  ล้านปี เชื่อกันว่าพัฒนาการตามธรรมชาติทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตถือกำเนินบนโลกประมาณ  500  ล้านปีที่แล้ว   ยุคไดโนเสาร์มีอายุอยู่ในช่วง 200 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ ค่อย ๆ พัฒนามา  คาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ   และจารึกไว้ตามผนึกถ้ำ  เมื่อประมาณ  5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่ามนุษย์ต้องใช้เวลานานพอสมควร ในการพัฒนาตัวหนังสือที่ใช้แทนภาษาพูด และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า    มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ  5000  ปีที่แล้ว   กล่าวได้ว่าฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า  มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 500 ถึง 800 ปีที่แล้ว เทคโนโลยีเริ่มเข้ามาช่วยในการพิมพ์ ทำให้การสื่อสารด้วยข้อความและภาษาเพิ่มขึ้นมาก เทคโนโลยีพัฒนามาจนถึง การสื่อสารกัน   โดยส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว    และเมื่อประมาณห้าสิบปีที่แล้ว   ก็มีการส่งภาพโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์  ทำให้มีการใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมากขึ้น ปัจจุบันมีสถานที่วิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และสื่อต่างๆ ที่ใช้ในการกระจ่ายข่าวสาร มีการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม  เพื่อรายงานเหตุการณ์สด เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาท  อย่างมาก บทบาทของการพัฒนาเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้น  เมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ   จะเห็นได้ว่าในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมาจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่   ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องให้เห็นอยู่ตลอดเวลา  ในอดีตยุคที่มนุษย์ยังเร่ร่อน  มีอาชีพเกษตรกรรม  ล่าสัตว์   ต่อมามีการรวมตัวกันสร้างเมือง และสังคมเมืองทำให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิต      การผลิตทำให้เกิดการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมที่เน้นการผลิตจำนวนมาก สังคมจึงเป็นเมืองที่มีอุตสาหกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่หลังจากปี พ.ศ. 2530   เป็นต้นมา ระบบสื่อสารโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ก้าวหน้า ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคสังคมสารสนเทศ ชีวิตความเป็นอยู่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก  การสื่อสารโทรคมนาคมกระจายทั่วถึงทำ ให้ข่าว สารแพร่กระจ่ายไปอย่างรวดเร็ว   สังคมในปัจจุบันเป็นสังคมไร้พรมแดน   เพราะเรื่องราวของประเทศหนึ่งสามารถกระจายแพร่ออกไปยังประเทศต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว

          ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ  หรือที่เรียกว่า  ไอที  (IT: Information  Technology)  คือ  ความรู้ในการประมวลผล  จัดเก็บรวบรวมเรียกใช้   และนำเสนอข้อมูล   ด้วยวิธีการทางอิเล็คทรอนิกส์  เครื่องมือที่ต้องใช้สำหรับงานไอที  คือ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมตลอดจนโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการสื่อสารไม่ว่าจะเป็น สายโทรศัพท์  ดาวเทียม  หรือเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง เครือข่ายอินเตอร์ เน็ต   นับเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งในการประยุกต์ใช้ไอทีอินเตอร์เน็ตจะเป็นช่องทางที่ทำให้เข้าถึงข้อมูลที่ต้องการภายในเวลาอันรวดเร็ว  อินเตอร์เน็ตเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลแหล่งใหญ่ที่สุดของโลกและเป็นที่รวมทั้งบริการและเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่ง   ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งในระดับบุคคลและองค์กร   จากปรัชญาของระบบเครือข่ายที่มุ่งหวังให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าสูงสุดหนทางหนึ่งก็คือการเปิดบริการให้ผู้อื่นใช้งานร่วมด้วยอินเตอร์เน็ต       จึงมีศูนย์ให้บริการข้อมูลและข่าวสารหลากชนิด  หากจะแยกประเภทของการให้บริการในอินเตอร์เน็ต  แล้วสามารถแบ่งออกได้ดังนี้

          1. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์  (Electronic Mail or E-Mail)  จดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือที่เรียกย่อๆ ว่า    E-Mail   เป็นวิธีติดต่อสื่อสารกันบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต     โดยที่สามารถส่งเอกสารที่เป็นข้อความธรรมดา จนถึงการส่งเอกสารแบบมัลติมิเดียที่มีทั้งภาพและเสียง  ในการส่งผู้ที่ต้องการส่งและรับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์จะต้องมี Domain name ที่แน่นอน

          2. การใช้โปรแกรมบนเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น  Telnet,Remote Login:rlogin  การให้บริการนี้เป็นประโยชน์ และประหยัดค่าใช้จ่าย   การใช้โปรแกรม  Telnet  ทำให้สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลออกไปโดยเสมือนอยู่หน้าเครื่องนั้นๆ  โดยตรงโปรแกรม Telnet อนุญาตให้สามารถทำงานบนเครื่อง คอมพิวเตอร์อื่นที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตได้   เช่น  โปรแกรมที่มีความซับซ้อนมากๆ ในการคำนวณ ไม่สามารถที่จะใช้เครื่องอยู่บนโต๊ะ   Pc   หรือ    (Work Station  แบบปกติ)  ได้ต้องส่งโปรแกรมไปทำงานบนเครื่อง Super Computer โดยใช้โปรแกรม Telnet เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับเครื่อง Super Computer

          3. การขนถ่ายแฟ้มข้อมูล  (File Transfer Protocol) การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล หรือ  FTP และโปรแกรมต่างๆ มีอยู่ในศูนย์บริการ  เป็นบริการอีกประเภทหนึ่งของอินเตอร์เน็ตเครือข่ายหลายแห่งเปิดบริการ สาธารณะ    ให้ผู้ใช้ภายนอกสามารถถ่ายโอนข้อมูล โ ดยไม่ต้องป้อนรหัสผ่านและถ่ายโอนได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย  แฟ้มข้อมูลที่ถ่ายโอน  มีทั้งข้อมูลทั่วไป  ข่าวสารประจำวัน บทความ รวมถึงโปรแกรม

          4. บริการสืบค้นข้อมูลข้ามเครือข่าย   เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในยุคเริ่มต้นเป็นเครือข่ายที่มีคอมพิวเตอร์ไม่กี่ร้อยเครื่องต่อเชื่อมกันอยู่ขนาดของเครือข่าย  จึงไม่ใหญ่เกินไป   สำหรับการขนถ่ายแฟ้มเพื่อการถ่ายโอน แต่เมื่ออินเตอร์เน็ตขยายตัวขึ้นมากและมีผู้ใช้งานแทบทุกกลุ่ม การค้นหาแฟ้มข้อมูลจึงยุ่งยากขึ้นด้วยเหตุนี้จึงมีการพัฒนาระบบ ARCHIE อำนวยความสะดวกช่วยในการค้นหาแฟ้ม และฐานข้อมูลว่าอยู่ที่เครื่องใด เพื่อจะใช้ FTP  ขอถ่ายโอนได้   การบริการจะต้องใช้โปรแกรม Archine, Gopher, VERONICA และ  WAIS

          5. กลุ่มสนทนาและข่าวสาร (Usenet User News Network)  Usenet  ช่วยให้ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบกันสามารถที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเรื่องต่างๆ  เช่น  การเสนอข้อคิดเห็น อภิปรายโต้ ตอบตามกลุ่มย่อยที่เรียกว่า  กลุ่มข่าว  (News Group) โดยผู้ใช้เพียงแต่สั่งคำสั่ง RTIN ก็จะสามารถอ่านข่าว ที่ตนเองได้บอกรับ (Subscribe) ได้ทันที

          6. ระบบบริการสถานี   (World  Wide  Web)  เพื่อส่งระบบ Multimedia  ข้ามเครือข่ายเนื่องจากระบบสืบค้นข้อมูลแบบเดิมสามารถส่งได้เฉพาะข้อมูล  อักษรและตัวเลข  แต่เนื่องจากการเชื่อมโยงข้อมูลแบบใหม่ๆ   ที่เป็นข้อมูล Multimedia    และการเชื่อมโยงของ    Modem    เป็นข้อมูลแบบ   Hypertext/ Hypermedia     ซึ่งเชื่อมโยงแบบกราฟิกที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติโดยใช้โปรแกรม  Lynx,  Mosaic   และ Netscape โดยที่โปรแกรมดังกล่าวสามารถทำงานโดยผ่าน Windows และระบบ Xwindows ของ Unix

          7. สนทนาทางเครือข่าย  Talk เป็นบริการสนทนาทางเครือข่ายระหว่างผู้ใช้สองคนโดยไม่จำกัดว่าผู้ใช้ทั้งสองกำลังทำ งานภายใน ระบบเดียวกัน หรือต่างระบบกัน  ผู้ใช้ทั้งสองสามารถพิมพ์ข้อความโต้ ตอบกันแบบทันทีทันใดได้พร้อมกัน ข้อความ ที่พิมพ์ผ่านแป้นพิมพ์จะไปปรากฏบนหน้าจอของ ผู้สนทนา   การสนทนาบนเครือข่ายอีกรูปแบบหนึ่งที่แพร่หลาย   คือ   IRC   (Internet   Relay  Chart)    ซึ่งเป็นการ
สนทนาทางเครือข่ายเป็นกลุ่มได้พร้อมกันหลายคน

          8. ตรวจข้อมูลผู้ใช้   เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันกำลังขยายตัวเป็นไปอย่างดีในที่ต่างๆ จะมีผู้ใช้ใหม่เกิดขึ้นอยู่เสมอ     อินเตอร์เน็ตไม่มีฐานข้อมูลกลางเก็บรายชื่อผู้ใช้ทั้งหมดนี้ไว้   จึงไม่มีวิธีสำเร็จ รูปแบบใดที่รับประกันการค้นหาผู้ที่เราต้องการติดต่อ ด้วย  โปรแกรมเบื้องต้นใน  Unix  ที่ใช้ตรวจหาผู้ใช้
ในระบบคือ  Finger

          9. กระดานข่าว BBS หรือ Bulletin Board System  เป็นบริการข้อมูลรูปแบบหนึ่งที่ผู้ใช้  PC โดยทั่วไปมักจะคุ้นเคยอยู่ก่อนภายในอินเตอร์เน็ต ก็มีศูนย์บริการหลายแห่งที่ให้บริการ BBS แบบเดียวกัน เราสามารถต่อเชื่อมไปหาศูนย์  BBS  ได้โดยใช้โปรแกรม Telnet

          1.2.วิวัฒนาการของสารสนเทศ

          ในระบบสารสนเทศนั้นจะมีการนำข้อมูลต่างๆ   มาประมวลผลให้ข้อมูลนั้นเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้งาน  ในอดีตที่ยังไม่มีคอมพิวเตอร์ก็ยังมีเครื่องมืออื่น   มาช่วยในการประมวลผลข้อมูลและช่วยในการสร้างผลผลิตได้   จนถึงปัจจุบันได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยประมวลผลข้อมูล  ก็ทำให้ระบบสารสนเทศนี้พัฒนาไปได้มากขึ้นช่วยให้การดำเนินชีวิตของมนุษย์ดีขึ้น โลกของเราได้มีการนำเครื่องมือมาช่วยในการดำรงชีวิตมากมาย จนในปัจจุบันถือได้ว่าเป็นยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศ หากแบ่งวิวัฒนาการของยุคสารสนเทศจะแบ่งได้ดังนี้

                    >>> โลกยุคกสิกรรม (Agriculture Age)   ยุคนี้นับตั้งแต่ก่อนปี ค.ศ.1800    ถือว่าเป็นยุคที่การดำเนินชีวิตของมนุษย์ขึ้นอยู่กับการทำนา  ทำสวน  ทำไร่  โลกในยุคนี้ยังมีการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน   แต่ก็เป็นสินค้าเกษตรเป็นหลัก  มีการนำเครื่องมือเครื่องทุ่นแรงมาใช้งานให้ได้ผลผลิตดีขึ้น ในระบบหนึ่งๆ จะมีผู้ร่วมงานเป็นชาวนา ชาวไร่ เป็นหลัก

                    >>> ยุคอุตสาหกรรม (Industrial Age)   ยุคนี้จะนับตั้งแต่ปี ค.ศ.1800  เป็นต้นมา  โดยในประ เทศอังกฤษได้นำเครื่อง จักรกลมาช่วยงานทางด้านเกษตร ทำให้มีผลผลิตมากขึ้นและมีผู้ร่วมงานในระบบมากขึ้น เริ่มมีโรงงานอุตสาหกรรม เริ่มมีคนงานในโรงงาน     ต่อมาการนำเครื่องจักรกลมาใช้งานนี้ได้ขยายไปสู่ประเทศต่างๆ  และได้มีการแปรรูปผลิตผลทางด้านการเกษตรออกมามากขึ้น   และเครื่องจักรกลก็เป็นเครื่องมือที่ทำงานร่วมกับมนุษย์       และเริ่มมีโรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้น     ซึ่งทำให้โลกของเรามีทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรมควบคู่กันไป

                   >>> ยุคสารสนเทศ  (information  Age)  ยุคนี้จะนับตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ.1957  จากที่การทำ งานของมนุษย์มีทั้งด้านเกษตรและด้านอุตสาหกรรม ทำให้คนงานต้องมีการสื่อสารกันมากขึ้น ต้องมีความรู้ ในการใช้เครื่องจักรกล  ต้องมีการจัดการข้อ มูลเอกสาร ข้อมูลสำนักงาน งานด้านบัญชีจึงทำให้มีคนงานส่วนหนึ่งมาทำงานในสำนักงาน       คนงานเหล่านี้ถือว่าเป็นผู้ที่มีความรู้      และต้องทำหน้าที่ประสานงานระหว่าง ฝ่ายผลิตและลูกค้า   ทำให้มีการพัฒนาเครื่องมือต่างๆ   มาช่วยในการประมวลผล จัดการให้ระบบงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น     ทำให้เกิดการใช้เครื่องมือทางด้านสารสนเทศขึ้นมา    ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อเข้าสู่ยุคสารสนเทศ องค์กรต่างๆ ที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการงานประจำวัน จะทำงานได้สำเร็จเร็วขึ้นการผลิตทำได้รวดเร็วขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตสามารถประมวลผลข้อมูลต่างๆ ได้เร็วขึ้น มีการนำระบบอัตโนมัติด้านการผลิตมาใช้ มีระบบบัญชี และมีโปรแกรมที่ทำงานเฉพาะด้านมากขึ้น

          1.3. ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ



          ระบบสารสนเทศเป็นการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลและสารสนเทศอย่างเป็นลำดับขั้นตอนจนให้เกิดระบบสารสนเทศขึ้น ข้อมูล สารสนเทศ และระบบสารสนเทศมีความหมาย ดังนี้

                   ข้อมูล  (Data)  คือ  ข้อเท็จจริงที่ได้จากการรวบรวมข้อมูล   ซึ่งมีทั้งที่อยู่ในรูปแบบตัวอักษรข้อ ความตัวเลขเสียง รูปภาพ และ ภาพเคลื่อนไหว

                   สารสนเทศ  (Information) คือ ข้อมูลที่ผ่านประมวลผลเพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจ เช่น เกรด เฉลี่ยของนักเรียน,ยอดขายประจำเดือน และ สถิติการขาดงาน

                   ระบบสารสนเทศ  (Information System)  คือ   ระบบที่สามารถจัดการข้อมูลตั้งแต่การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล  การประมวลผลข้อมูล     รวมถึงการดูแลรักษาข้อมูล   เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ถูกต้อง   และทันต่อความต้องการของผู้ใช้   และผู้ใช้สามารถนำสารสนเทศที่ได้ไปประกอบการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ


                   กระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศ     ระบบสารสนเทศประกอบด้วยกระบวนการทำงาน
หลักๆ ดังต่อไปนี้                    
                    1. การนำเข้าข้อมูล (Input) เป็นการนำข้อมูลดิบ (Data) ที่ได้จากการเก็บรวบรวมเข้าสู่ระบบ  เพื่อนำไปประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ เช่น การบันทึกการขายรายวันบันทึกคะแนนเก็บของนักเรียน ฯลฯ

                    2. การประมวลผลข้อมูล  (Process)  เป็นการคิด  คำนวณ    หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลดิบให้เป็นสารสนเทศ อาจทำได้ด้วยการเรียงลำดับ  การคำนวณ  การจัดรูปแบบ  และการเปรียบเทียบตัวอย่างการประมวลผล  เช่น การคำนวณรายได้ของผู้ปกครอง การนับจำนวนวันหยุดราชการบนปฏิทิน ฯลฯ


                    3. การแสดงผล (Output)  เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาแสดงในรูปแบบที่ผู้ใช้ต้องการ  เพื่อส่งเสริมหรือช่วยในการตัดสินใจ        
           
                    4การจัดเก็บข้อมูล (Storage) เป็นการจัดเก็บข้อมูลดิบหรือสารสนเทศทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ เนื่อง จากการนำข้อมูลดิบเข้าสู่ระบบมีการจัดเก็บจนถึงระยะยาวระยะหนึ่งแล้วจึงนำไปประมวลผล

ภาพแสดงกระบวนการประมวลของข้อมูลในระบบสารสนเทศ

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

องค์ประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศมี ส่วนคือ 

                   1. ฮาร์ดแวร์(เครื่องจักรอุปกรณ)์ 

                   2. ซอฟต์แวร์ 

                   3. ข้อมูล

                   4. บุคลากร

                   5.ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

                   ส่วนประกอบทั้งห้าส่วนนี้ทำให้เกิดสารสนเทศได้  หากขาดส่วนประกอบใด  หรือส่วนประกอบใดไม่สมบูรณ์ ก็อาจทำให้ระบบสารสนเทศ ไม่สมบูรณ์  เช่น  ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เหมาะสมกับงาน ก็จะทำให้งานล่าช้า   ไม่ทันต่อการใช้งาน  การดำเนินการระบบสารสนเทศจึงต้องให้ความสำคัญ  กับส่วนประกอบทั้งห้านี้

                   1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผล คัดเลือก คำนวณ หรือพิมพ์รายงาน  ผลตามที่ต้องการคอมพิว เตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานได้รวดเร็ว   มีความแม่นยำในการทำงาน  และทำงานได้ต่อเนื่อง คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ สามารถแบ่งเป็น  หน่วย คือ 

                   หน่วยรับข้อมูล (Input unit) ได้แก่ แป้นพิมพ์ เมาส์  ไมโครโฟน


                   หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)


                   - หน่วยแสดงผล (Output unit) ได้แก่ จอภาพ ลำโพง เครื่องพิมพ์


                   2. ซอฟต์แวร์ (Software)  คือ  ลำดับขั้นตอนคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์  ทำงานตามวัตถุ ประสงค์ที่วางไว้ ซอฟต์แวร์ จึงหมายถึงชุดคำสั่งที่เรียง เป็นลำดับขั้นตอนสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ  และประมวลผล  เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ ซอฟต์แวร์หรือชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์ แบ่งออก
เป็น 2ประเภท คือ

                             ซอฟต์แวร์ระบบ คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้จัดการกับระบบคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ  เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดว์ส ระบบปฏิบัติการดอส ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์

                             ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานด้านต่างๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น ซอฟต์แวร์กราฟิกซอฟต์แวร์ประมวลคำ  ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน  

                   3. ข้อมูล (Data) เป็นวัตถุดิบที่ทำให้เกิดสารสนเทศ ข้อมูลที่เป็นวัตถุดิบจะต่างกันขึ้นกับสาร สนเทศที่ต้องการ  เช่น  ในสถานศึกษามักจะต้องการ  สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนักเรียน ข้อมูลผลการเรียน  ข้อมูลอาจารย์   ข้อมูลการใช้จ่ายต่างๆ   ข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญประการหนึ่งที่มีบทบาทต่อการให้เกิด สารสนเทศ 

                   4. บุคลากร (Peopleware) เป็นส่วนประกอบสำคัญเพราะบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเข้าใจวิธีการให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ จะเป็นผู้ดำเนินการ ในการทำงานทั้งหมด บุคลากรจึงต้องมีความ
รู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บุคลากรภายในองค์กรเป็นส่วนประกอบที่  ทำให้เกิด ระบบสารสนเทศด้วยกันทุกคน เช่น ร้านขายสินค้าแห่งหนึ่ง  บุคลากรที่ดำเนินการในร้านค้าทุกคน  ตั้งแต่ผู้จัด การถึงพนักงานขาย เป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิดสารสนเทศได้

                   5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Procedure) ขั้นตอนการปฏิบัติงาน  เป็นระเบียบวิธีการปฏิบัติงานในการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่จะทำให้เป็นสารสนเทศได้  เช่น  กำหนดให้ มีการป้อนข้อมูลทุกวัน ป้อนข้อมูลให้ทันตามกำหนดเวลา มีการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ  กำหนดเวลาในการประ มวลผล การทำรายงาน การดำเนินการ ต่าง ๆ ต้องมีขั้นตอน หากขั้นตอนใดมีปัญหาระบบก็จะมีปัญหาด้วย เพราะทุกขั้นตอนมีผลต่อระบบสารสนเทศ



          1.4. ประเภทของระบบสารสนเทศ

                   ระบบสารสนเทศสามารถจำแนกได้ตามลักษณะการดำเนินงานได้ดังนี้

                   1.ระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ (TPS : Transaction Processing Systems) เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลข้อมูลที่เกิดจาก ธุรกรรมหรือการปฏิบัติงานประจำหรืองานขั้นพื้นฐานขององค์การ เช่น การซื้อขายสินค้า การบันทึกจำนวนวัสดุคงคลัง เมื่อใดก็ตามที่มีการทำธุรกรรมหรือปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะเกิดขึ้นทันที เช่น ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็คือ ชื่อลูกค้า ประเภทของลูกค้า จำนวนและราคาของสินค้าที่ขายไป รวมทั้งวิธีการชำระเงินของลูกค้า

                   2.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS : Management Information System) คือระบบที่ให้สารสนเทศ ที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารทำงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้งสารสนเทศภายในและภายนอกสารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน นอกจากนี้ระบบนี้จะต้องให้สารสนเทศในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่าง ถูกต้อง แม้ว่าผู้บริหารที่จะได้รับประโยชน์จากระบบนี้สูงสุดคือผู้บริหารระดับกลาง แต่โดยพื้นฐานของระบบนี้แล้วจะเป็นระบบที่สามารถสนับสนุนข้อมูลให้ผู้บริหารทั้งสาม ระดับ คือทั้งผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารระดับกลางและผู้บริหารระดับสูง โดยระบบนี้จะให้รายงานที่สรุปสารสนเทศซึ่งรวบรวมจากฐานข้อมูลทั้งหมดของบริษัท

                    3.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS : Decision Support System) เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นจากระบบ MIS อีกระดับหนึ่ง เนื่องจาก ถึงแม้ว่าผู้ที่มีหน้าที่ในการตัดสินใจจะสามารถใช้ประสบการณ์หรือใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วในระบบเอ็มไอเอส ของบริษัท สำหรับทำการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพในงานปกติ แต่บ่อยครั้งที่ผู้ตัดสินใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารในระดับสูงและระดับกลางจะเผชิญกับการตัดสินใจที่ประกอบด้วยปัจจัยที่ซับซ้อนเกินกว่าความสามารถของมนุษย์ที่จะประมวล เข้าด้วยกันได้อย่างถูกต้อง จึก ทำให้เกิดระบบนี้ขึ้น ซึ่งเป็นระบบที่สนับสนุนความต้องการเฉพาะของผู้บริหารแต่ละคน (made by order) ในหลายๆสถานะการณ์ ระบบ นี้มีหน้าที่ช่วยให้การตัดสินใจเป็นไปได้อย่างสะดวก 

                    4.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม (GDSS : Group Decision Support System) เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน หรือกึ่งโครงสร้าง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม นอกจากนั้น ยังมีระบบสนับสนุนผู้บริหารเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์

                    5.ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS : Geographic Information System) ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System : GIS คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน GIS เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล และฐานข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้ เช่น การแพร่ขยายของโรคระบาด การเคลื่อนย้าย ถิ่นฐาน การบุกรุกทำลาย การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปลและสื่อความหมาย ใช้งานได้ง่าย 

                    6.ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (EIS : Excutive Information System) เป็นระบบที่สร้างขึ้น เพื่อสนับสนุน สารสนเทศและการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ หรือ สามารถกล่าวได้ว่าระบบนี้คือส่วนหนึ่งของ DSS ที่แยกออกมา เพื่อเน้นการให้สารสนเทศที่สำคัญต่อการบริการแก่ผู้บริหาร

                    7. ปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) ระบบที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์กลายเป็นผู้ชำนาญการณ์ ในสาขาใดสาขาหนึ่ง คล้ายกับมนุษย์ ระบบผู้เชี่ยวชาญมีส่วนคล้ายคลึงกับระบบอื่นๆ คือเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยผู้บริหารแก้ไขปัญหาหรือทำการ ตัดสินใจได้ดีขึ้น อย่างไรก็ดีระบบผู้เชี่ยวชาญจะแตกต่างกับระบบอื่นอยู่มาก เนื่องจากระบบผู้เชี่ยวชาญจะเกี่ยวข้องกับการจัดการ ความรู้ (Knowledge) มากกว่าสารสนเทศ และถูกออกแบบให้ช่วยในการตัดสินใจโดยใช้วิธีเดียวกับผู้เชี่ยวชาญที่ มนุษย์ โดยใช้หลักการทำงานด้วยระบบ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)

                    8.ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (OAS : Office Automation System) เป็นระบบที่ใช้บุคลากรน้อยที่สุด โดยอาศัยเครื่องมือแบบอัตโนมัติและระบบสื่อสารเชื่องโยงข่าวสารระหว่างเครื่องมือเหล่านั้นเข้าด้วยกัน QAS มีจุดมุ่งหมายให้เป็นระบบที่ไม่ใช้กระดาษ (Paperless System) ส่งข่าว สารถึงกันด้วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange) แทน ซึ่งมีรูปแบบในการใช้งาน ลักษณะคือ

                   - รูปแบบของระบบงานพิมพ์และการประมวลผลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Publishing & Processing System) ได้แก่การสื่อสารด้วยข้อความ รูปภาพ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-Mail) โทรสาร (FAX)หรือ เสียงอิเล็กทรอนิกส์ (Voice Mail) เป็นต้น

                   - รูปแบบการประชุมทางไกลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Meeting System) เป็นเทคนิคที่ทำให้กลุ่มคนทั่วโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ คล้ายการพูดคุยกันโดยตรง เช่น การประชุมทางไกลแบบมีแต่เสียง (Audio Conferencing),การประชุมทางไกลแบบมีทั้งภาพและเสียง (Video Conferencing) หรือ ทั้งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรสาร และ เสียงอิเล็กทรอนิกส์รวมกัน เป็นต้น

          1.5. ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตและการทำงาน

                   เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้น ขณะเดียวกันเครื่องคอมพิวเตอร์ก็มีราคาถูกลง ดังนั้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานต่าง ๆ จึงเป็นไปอย่างกว้างขวาง ซึ่งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนั้นมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งด้านบวกและด้านลบ ดังนี้

                    1. ผลกระทบทางบวกของเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบทางบวกต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ดังนี้

                        1) ด้านคุณภาพชีวิต เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ได้รับความสะดวกสบายขึ้น ได้แก่

                        มนุษย์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และโปรแกรมออฟฟิศช่วยให้เกิดความรวดเร็วและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

                        มนุษย์ใช้ระบบโทรคมนาคมในการสื่อสารที่รวดเร็ว เช่น การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ติดต่อสื่อสารในขณะเดินทางไปยังที่ต่างๆ มนุษย์ใช้หุ่นยนต์ช่วยในอุตสาหกรรมการผลิตที่ต้องเสี่ยงกับอันตราย หรือในงานที่ต้องการความแม่นยำและความรวดเร็วในการผลิต เช่น หุ่นยนต์สำหรับงานสำรวจ หุ่นยนต์ที่ใช้งานในอวกาศ เป็นต้น

                         มนุษย์นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในด้านการแพทย์ให้มีความเจริญก้าวหน้าขึ้นมาก เช่น เครื่องมือตรวจคลื่นหัวใจที่ทันสมัย มีเครื่องเอกซเรย์ภาคตัดขวางที่สามารถตรวจดูอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างละเอียด เครื่องมือช่วยในการผ่าตัดที่ทำให้คนไข้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการผลิตยา และวัคซีนสมัยใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเข้าช่วยด้วย

เครื่อง Computed Tomography Scanner : CT Scan
เป็นเครื่องเอกซเรย์ที่ใช้คอมพิวเตอร์คำนวณและสร้างภาพออกมา

                        2) ด้านสังคม เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบทางด้านบวกต่อสังคม ดังนี้

                         เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ กล่าวคือเป็นสังคมที่ใช้สารสนเทศในการตัดสินใจและการกระจายข้อมูลข่าวสารไปได้ทั่วทุกหนแห่งแม้แต่ถิ่นทุรกันดาร ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสมอภาคเท่าเทียมกันในสังคม

                        เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดชุมชนเสมือน ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีความสนใจเรื่องเดียวกัน สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ซึ่งกันและกันได้ และความรู้เหล่านี้จะถูกบันทึกไว้ในระบบคอมพิวเตอร์และสามารถเรียกใช้ได้ตามต้องการ

จานดาวเทียมสำหรับการศึกษาทางไกล

                         3) ด้านการเรียนการสอน เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดประสิทธิภาพการเรียนรู้

                         การสร้างโปรแกรมจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ ทำให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาของบทเรียนไรอย่างชัดเจน เช่น การจำลองสภาวะสิ่งแวดล้อม การจำลองระบบมลภาวะ การจำลองการไหลของของเหลว หรือแม้แต่การนำเอาคอมพิวเตอร์มาจำลองให้ผู้เรียนได้อยู่ในสภาพที่เสมือนจริง เช่น จำลองการเดินเรือ จำลองการขับเครื่องบิน จำลองการขับรถยนต์ เป็นต้น ซึ่งลดความผิดพลาดจากความเสียหายและความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายของผู้เรียนลงได้

โปรแกรมจำลองการบินเสมือนจริง

                         - เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learning) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงของสังคม การเมือง เศรษฐกิจโลก รวมทั้งเทคโนโลยีที่รวดเร็ว ทำให้มนุษย์ต้องขวนขวายพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยการเรียนรู้ด้วยตนเองจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ทั่วโลก

ตารางการเรียนทางไกลผ่านดาวเทียมในถิ่นทุรกันดาร

                ผลกระทบทางลบของเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบทางลบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ดังนี้

                1) คุณภาพชีวิต เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดผลกระทบด้านคุณภาพชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต ดังนี้

                     - โรคอันเกิดจากการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ได้แก่ อาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อบริเวณข้อมือเนื่องจากจับเมาส์ หรือใช้แป้นพิมพ์เป็นเวลานาน อาการปวดคอ ไหล่ และหลัง การเกิดปัญหาด้านสายตาเนื่องจากเพ่งมองที่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานติดต่อกัน เป็นต้น

ท่านั่งที่ไม่ถูกต้องในการนั่งทำงานคอมพิวเตอร์

                     โรคทนรอไม่ได้  (Hurry Sickness) เกิดกับผู้ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งทำให้ผู้ใช้เป็นคนขี้เบื่อ หงุดหงิดง่าย ใจร้อน เครียดง่าย ความอดทนลดลง ทนรอเครื่องดาวน์โหลดนานๆ ไม่ได้ จะกระวนกระวาย ซึ่งจะเป็นพฤติกรรมติดตัวไปใช้ในการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันด้วย หากมีอาการมาก ๆ อาจจะเข้าข่ายโรคประสาทได้


โรคทนรอไม่ได้ 

                     มนุษย์เกิดความเครียดจากการเลือกใช้ข้อมูลและสารสนเทศที่มีอยู่อย่างมากมายรวมถึงความเครียดจากความวิตกกังวลว่าจะมีการนำคอมพิวเตอร์มาทดแทนแรงงานของคน

โรคเครียด

                2) ด้านสังคม เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบทางด้านลบต่อสังคม ดังนี้

                      - การขาดทักษะทางสังคม เนื่องจากอินเทอร์เน็ตทำให้เกิดการสื่อสารพันได้โดยไม่ต้องพบเจอกัน ซึ่งพบว่าปัจจุบันคนในสังคมจะนิยมใช้บริการเครือข่ายสังคม หรือที่เรียกว่า social network มากขึ้น เช่น เว็บไซต์ Hi5 และเว็บไซต์ Facebook ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่าบุคคลในสังคมน้อยลง ทักษะทางสังคมต่าง ๆ ที่ใช้ในการปฏิสัมพันธ์และการสื่อสารระหว่างกัน ได้แก่ ทักษะการพูด การฟัง การทำงานร่วมกัน รวมทั้งความสามารถในการเข้าใจถึงสถานการณ์ที่หลากหลาย กฎกติกาต่างๆ ในสังคม และการคิดคำนึงถึงคนรอบข้างอย่างเข้าอกเข้าใจ ซึ่งทักษะทางสังคมเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นสำหรับทุกเพศทุกวัย ดังนั้นการขาดทักษะทางสังคมจะทำให้คนขาดการทำความเข้าใจผู้อื่น ไม่มีการทำงานร่วมกัน จนกระทั่งอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งกันในสังคมขึ้นได้

สื่อที่ทำให้เกิดความขัดแย้งทางความคิดบนโลกไซเบอร์

                      การเกิดอาชญากรรมคอมพิวเตอร์มากขึ้นและรุนแรงขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือหนึ่งในการก่ออาชญากรรมได้ง่าย ผู้ไม่หวังดีอาจใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในทางที่ผิด เช่น การขโมยข้อมูลของบริษัทและนำไปเปิดเผยกับบริษัทคู่แข่ง การเจาะระบบของธนาคารและเปลี่ยนแปลงข้อมูลเงินในบัญชีธนาคารให้สูงขึ้น การล่อลวงผู้ที่เล่นอินเทอร์เน็ตและก่อคดีล่วงละเมิดทางเพศ การเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในแง่มุมต่าง ๆ ทั้งภาพลามกอนาจ การพนันออนไลน์ การจำหน่ายของผิดกฎหมาย หรือเผยแพร่ข้อมูลที่มีเนื้อหาแอบแฝงแนวคิด ก้าวร้าว รุนแรง การส่งไวรัสเข้าไปทำลายข้อมูลของผู้อื่น เป็นต้น


                3) ด้านการเรียนการสอน ผลกระทบในทางลบกับการเรียนการสอนจะเกิดขึ้นหากผู้สอน ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอนทั้งหมด และปล่อยให้ผู้เรียนศึกษาและเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนที่มีประสบการณ์น้อยอาจตีความได้ไม่ถูกต้อง รวมถึงการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด ดังนั้น ผู้สอนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน รวมทั้งให้คำแนะนำ อบรมสั่งสอนด้านคุณธรรม จริยธรรมควบคู่ไปกับการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต แพร่ข้อมูลที่มีเนื้อหาแอบแฝงแนวคิดก้าวร้าว รุนแรง การส่งไวรัสเข้าไปทำลายข้อมูลของผู้อื่น เป็นต้น



ที่มาของข้อมูล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประวัติความเป็นมาของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ประวัติความเป็นมาของเทคโนโลยีสารสนเทศ           ความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบ...