บทที่ 4
กฎหมายและจริยธรรมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
กฎหมายและจริยธรรมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
4.1.
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Law)
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Law) หรือมักเรียกกันว่า "กฎหมายไอที (IT Law) ในเบื้องต้น ที่จำเป็นต้องมีการตรากฎหมายขึ้นใช้บังคับ เมื่อวันที่
15 ธันวาคม พ.ศ.2541 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบต่อการจัดทำโครงการพัฒนา
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศที่เสนอโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี และ สิ่งแวดล้อม และเห็นชอบให้คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (National Information Technology
Committee) หรือที่เรียกโดยย่อว่า
"คณะกรรมการไอทีแห่งชาติ หรือ กทสช. (NITC) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางและประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่กำลังดำเนินการจัดทำกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
เนื่องจากในปัจจุบันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
มีการเชื่อมโยงกันทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตย่อมมีข้อมูลสารสนเทศที่ส่งผ่าน
จากผู้ส่ง ไปยังผู้รับ และหากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น ไม่มีระบบความปลอดภัยที่ดี
หรือรัดกุม ข้อมูลนั้นอาจจะถูกปรับเปลี่ยน ถูกจารกรรม หรือถูกทำลายไป โดยที่ผู้ส่ง
และผู้รับ ไม่สามารถรับรู้ได้เลย ผู้ใช้ควรจะมีคุณธรรมและจริยธรรมพื้นฐานที่ต้องปฏิบัติควบคู่กับการใช้งาน
เพื่อเป็นการใช้งานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ร่วมกันอย่าง เหมาะสม
ไม่ควรใช้งานโดยคำนึงแต่ผลประโยชน์ของตนเองเพียงฝ่าย
เดียวควรจะคำนึงถึงผู้อื่นและเคารพสิทธิผู้อื่นด้วย
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันบางประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีกฎหมายควบคุมสื่ออินเทอร์เน็ต
ก็ยังไม่สามารถควบคุมภัยล่อลวงต่าง ๆ จากสื่ออินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างเด็ดขาดเต็มที่โดยเฉพาะควบคุมดูแลการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารบนสื่ออินเทอร์เน็ตนั้นก็ยังเป็นปัญหาโดยเฉพาะการเผยแพร่สื่อสารลามกหรือบ่อนการพนัน
ซึ่งปัญหาดังกล่าว
นอกจากจะเกี่ยวข้องกับสิทธิส่วนบุคคลในการเข้าถึงข้อมูล
การก้าวก่ายสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐานของประชาชน
ยังอาจจะขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศอีกด้วย อีกทั้งลักษณะพิเศษของข้อมูลต่าง
ๆ ที่อยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายที่มีลักษณะเป็นใยแมงมุม
ซึ่งระบบกระจายความรับผิดชอบไม่มีศูนย์กลางของระบบ และเป็นเครือข่ายข้อมูลระดับโลกยากต่อการควบคุม
และเป็นสื่อที่ไม่มีตัวตนหรือแหล่งที่มาที่ชัดเจน ทั้งผู้ส่งข้อมูล
หรือผู้รับข้อมูล ดังนั้นกฎหมายที่จะมากำกับดูแล หรือควบคุมสื่ออินเทอร์เน็ต
จะต้องเป็นกฎหมายลักษณะพิเศษ เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
แต่ความแตกต่างในระบบการเมือง สังคม และวัฒนธรรม
ในแต่ละประเทศยังเป็นปัญหาอุปสรรคในการร่างกฎหมายดังกล่าวซึ่งปัจจุบันยังไม่ปรากฏผลเป็นกฎหมายยังคงอยู่ในระยะที่กำลังสร้างกฎเกณฑ์กติกาขึ้นมากำกับบริการอินเทอร์เน็ต
ทั้งนี้คณะกรรมการไอทีแห่งชาติได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ
เพื่อยกร่างกฎหมายไอทีทั้ง 6 ฉบับ
โดยมอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Electronics and Computer
Technology Center) หรือที่มักเรียกโดยย่อว่า
"เนคเทค" (NECTEC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
(National
Science and Technology Development Agency) หรือที่เรียกโดยย่อว่า "สวทช." กระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการไอทีแห่งชาติ
ทำหน้าที่เป็นเลขานุการในการยกร่างกฎหมายไอทีทั้ง 6 ฉบับ
เนคเทคจึงได้เริ่มต้นโครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้น เพื่อปฏิบัติตามนโยบายที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลและคณะกรรมการไอทีแห่งชาติ
ในการยกร่างกฎหมายไอทีทั้ง 6 ฉบับ ให้แล้วเสร็จ คือ
1.กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic
Transactions Law) เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอด้วยกระดาษ
อันเป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่าง ๆ
ซึ่งแต่เดิมอาจจะจัดทำขึ้นในรูปแบบของหนังสือให้เท่าเทียมกับนิติสัมพันธ์รูปแบบใหม่ที่จัดทำขึ้นให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
รวมตลอดทั้งการลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
และการรับฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
2.กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
(Electronic
Signatures Law) เพื่อรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยกระบวนการใด ๆ
ทางเทคโนโลยีให้เสมอด้วยการลงลายมือชื่อธรรมดา
อันส่งผลต่อความเชื่อมั่นมากขึ้นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
และกำหนดให้มีการกำกับดูแลการให้บริการ
เกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนการให้ บริการอื่น
ที่เกี่ยวข้องกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
3.
กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน (National Information Infrastructure
Law) เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ
อันได้แก่ โครงข่ายโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศทรัพยากรมนุษย์
และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสำคัญอื่น ๆ อันเป็นปัจจัยพื้นฐาน สำคัญในการพัฒนาสังคม
และชุมชนโดยอาศัยกลไกของรัฐ
ซึ่งรองรับเจตนารมณ์สำคัญประการหนึ่งของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ
มาตรา 78 ในการกระจายสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน
และนับเป็นกลไกสำคัญในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำของสังคมอย่างค่อยเป็นค่อยไป
เพื่อสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีศักยภาพในการปกครองตนเองพัฒนาเศรษฐกิจภายในชุมชน
และนำไปสู่สังคมแห่งปัญญา และการเรียนรู้
4.กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
(Data
Protection Law) เพื่อก่อให้เกิดการรับรองสิทธิและให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ซึ่งอาจถูกประมวลผล เปิดเผยหรือเผยแพร่ถึงบุคคลจำนวนมากได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วโดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี
จนอาจก่อให้เกิดการนำข้อมูลนั้นไปใช้ในทางมิชอบอันเป็นการละเมิดต่อเจ้าของข้อมูล
ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการรักษาดุลยภาพระหว่างสิทธิขั้นพื้นฐานในความเป็นส่วนตัว
เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร และความมั่นคงของรัฐ
5.กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
(Computer
Crime Law) เพื่อกำหนดมาตรการทางอาญาในการลงโทษผู้กระทำผิดต่อระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์
ระบบข้อมูล และระบบเครือข่าย ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพ
และการคุ้มครองการอยู่ร่วมกันของสังคม
6. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic
Funds Transfer Law) เพื่อกำหนดกลไกสำคัญทางกฎหมายในการรองรับระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
ทั้งที่เป็นการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงิน
และระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่ในรูปของเงินอิเล็กทรอนิกส์ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อระบบการทำธุรกรรมทางการเงิน
และการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น
4.2. จริยธรรมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
คุณธรรมจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
จริยธรรม หมายถึง
"หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ
หรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ"
ในทางปฏิบัติแล้ว การระบุว่าการกระทำสิ่งใดผิดจริยธรรมนั้น
อาจกล่าวได้ไม่ชัดเจนมากนัก ทั้งนี้
ย่อมขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของสังคมในแต่ละประเทศด้วย อย่างเช่น
กรณีที่เจ้าของบริษัทใช้กล้องในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการทำงานของพนักงาน เป็นต้น
ตัวอย่างของการกระทำที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม
เช่นการใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรำราญ เช่น
การนำภาพหรือข้อมูลส่วนตัวของบุคคลไปลงบนอินเตอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาตการใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูลการเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตการละเมิดลิขสิทธิ์
โดยทั่วไป
เมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศแล้ว
จะกล่าวถึงใน 4ประเด็น
ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA
ประกอบด้วย
1. ความเป็นส่วนตัว
(Information
Privacy)
2. ความถูกต้อง
(Information
Accuracy)
3. ความเป็นเจ้าของ (Information
Property)
4. การเข้าถึงข้อมูล
(Data
Accessibility)
1. ความเป็นส่วนตัว
(Information
Privacy) ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ โดยทั่วไปหมายถึง
สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง
และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น
สิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์การต่างๆปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวที่เป็นข้อหน้าสังเกตดังนี้
1.การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์
รวมทั้งการบันทึก-แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร
2.การใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล
เช่น
บริษัทใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการปฏิบัติงาน/การใช้บริการของพนักงาน
ถึงแม้ว่าจะเป็นการติดตามการทำงานเพื่อการพัฒนาคุณภาพการใช้บริการ
แต่กิจกรรมหลายอย่างของพนักงานก็ถูกเฝ้าดูด้วย พนักงานสูญเสียความเป็นส่วนตัว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการผิดจริยธรรม
3.การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่างๆ
เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด
4.การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์
ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ
เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าขึ้นมาใหม่ แล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น
ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ
จึงควรจะต้องระวังการให้ข้อมูล โดยเฉพาะการใช้อินเตอร์เน็ตที่มีการใช้โปรโมชั่น
หรือระบุให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าใช้บริการ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต และที่อยู่อีเมล์
2. ความถูกต้อง
(Information
Accuracy) ในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรวบรวม จัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลนั้น
คุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูล ทั้งนี้
ข้อมูลจะมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความถูกต้องในการบันทึกข้อมูลด้วย
ประเด็นด้านจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความถูกต้องของข้อมูล
โดยทั่วไปจะพิจารณาว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของข้อมูลที่จัดเก็บและเผยแพร่
เช่น ในกรณีที่องค์การให้ลูกค้าลงทะเบียนด้วยตนเอง
หรือกรณีของข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ อีกประเด็นหนึ่ง คือ
จะทราบได้อย่างไรว่าข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจากความจงใจ
และผู้ใดจะเป็นผู้รับผิดชอบหากเกิดข้อผิดพลาด
ดังนั้น ในการจัดทำข้อมูลและสารสนเทศให้มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือนั้น
ข้อมูลควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จะนำเข้าฐานข้อมูล
รวมถึงการปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ นอกจากนี้
ควรให้สิทธิแก่บุคคลในการเข้าไปตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลของตนเองได้ เช่น
ผู้สอนสามารถดูคะแนนของนักศึกษาในความรับผิดชอบ
หรือที่สอนเพื่อตรวจสอบว่าคะแนนที่ป้อนไม่ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลง
3.ความเป็นเจ้าของ
(Information
Property) สิทธิความเป็นเจ้าของ หมายถึง กรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน
ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์
หรืออาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญา (ความคิด) ที่จับต้องไม่ได้ เช่น บทเพลง โปรแกรมคอมพิวเตอร์
แต่สามารถถ่ายทอดและบันทึกลงในสื่อต่างๆ ได้ เช่น สิ่งพิมพ์ เทป ซีดีรอม เป็นต้น
ในสังคมของเทคโนโลยีสารสนเทศ มักจะกล่าวถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
เมื่อท่านซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีการจดลิขสิทธิ์
นั่นหมายความว่าท่านได้จ่ายค่าลิขสิทธิ์ในการใช้ซอฟต์แวร์นั้น
สำหรับท่านเองหลังจากที่ท่านเปิดกล่องหรือบรรจุภัณฑ์แล้ว หมายถึงว่าท่านได้ยอมรับข้อตกลงเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ในการใช้สินค้านั้น
ซึ่งลิขสิทธิ์ในการใช้จะแตกต่างกันไปในแต่ละสินค้าและบริษัท
บางโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะอนุญาตให้ติดตั้งได้เพียงครั้งเดียว
หรือไม่อนุญาตให้ใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นๆ
ท่านเป็นเจ้าของ และไม่มีผู้อื่นใช้ก็ตาม
ในขณะที่บางบริษัทอนุญาตให้ใช้โปรแกรมนั้นได้หลายๆ เครื่อง
ตราบใดที่ท่านยังเป็นบุคคลที่มีสิทธิในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมา
การคัดลอกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้กับเพื่อน
เป็นการกระทำที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนว่าโปรแกรมที่จะทำการคัดลอกนั้น
เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ท่านมีสิทธ์ในระดับใด
4.การเข้าถึงข้อมูล
(Data
Accessibility) ปัจจุบันการเข้าใช้งานโปรแกรม
หรือระบบคอมพิวเตอร์มักจะมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน ทั้งนี้
เพื่อเป็นการป้องกันการเข้าไปดำเนินการต่างๆ กับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
และเป็นการรักษาความลับของข้อมูล ตัวอย่างสิทธิในการใช้งานระบบ เช่น การบันทึก
การแก้ไข/ปรับปรุง และการลบ เป็นต้น ดังนั้น
ในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์จึงได้มีการออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงของผู้ใช้
และการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น
ก็ถือเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว
ในการใช้งานคอมพิวเตอร์และเครือข่ายร่วมกันให้เป็นระเบียบ
หากผู้ใช้ร่วมใจกันปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของแต่ละหน่วยงานอย่างเคร่งครัดแล้ว
การผิดจริยธรรมตามประเด็นดังที่กล่าวมาข้างต้นก็คงจะไม่เกิดขึ้น
จริยธรรมและคุณธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกัน ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกวัน
การใช้งานระบบเครือข่ายที่ออนไลน์และส่งข่าวสารถึงกันย่อมมีผู้ที่มีความประพฤติไม่ดีปะปนและสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้อื่นอยู่เสมอ
หลายเครือข่ายจึงได้ออกกฎเกณฑ์การใช้งานภายในเครือข่าย
เพื่อให้สมาชิกในเครือข่ายของตนยึดถือ ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และได้รับประโยชน์สูงสุด
ดังนั้น ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนที่เป็นสมาชิกเครือข่ายจะต้องเข้าใจกฎเกณฑ์ข้อบังคับของ
เครือข่ายนั้นมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้ร่วมใช้บริการคนอื่นและจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่เข้าไปขอใช้บริการต่างๆ
บนเครือข่ายบนระบบคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเรียกเข้ามิได้เป็นเพียงเครือข่ายขององค์กรที่ผู้ใช้สังกัด
แต่เป็นการเชื่อมโยงของเครือข่ายต่างๆ
เข้าหากันหลายพันหลายหมื่นเครือข่ายมีข้อมูลข่าวสารอยู่ระหว่างเครือข่ายเป็นจำนวนมาก
การส่งข่าวสารในเครือข่ายนั้นอาจทำให้ข่าวสารกระจายเดินทางไปยังเครือข่ายอื่น ๆ
อีกเป็นจำนวนมากหรือแม้แต่การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ฉบับหนึ่งก็อาจจะต้องเดินทางผ่านเครือข่ายอีกหลายเครือข่ายกว่าจะถึงปลายทาง
ดังนั้นผู้ใช้บริการต้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาปริมาณข้อมูลข่าวสารที่วิ่งอยู่บนเครือข่าย
การใช้งานอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตน่าใช้และเป็นประโยชน์ร่วมกันอย่างดี
กิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติจะต้องหลีกเลี่ยงเช่นการส่งกระจายข่าวไปเป็นจำนวนมากบนเครือข่าย
การส่งเอกสารจดหมายลูกโซ่ ฯลฯ
สิ่งเหล่านี้จะเป็นผลเสียโดยรวมต่อผู้ใช้และไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ
ต่อสังคมอินเทอร์เน็ต
เพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ตสงบสุข Arlene H.Rinaldi แห่งมหาวิทยาลัย
ฟอร์ริดาแอตแลนติก
จึงรวบรวมกฎกติกามารยาทและวางเป็นจรรยาบรรณอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า Netiquette ไว้ดังนี้
จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(E-mail) ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนมีเมล์บ็อกซ์หรืออีเมล์แอดเดรสที่ใช้อ้างอิงในการรับส่ง
จดหมาย
ความรับผิดชอบต่อการใช้งานอีเมล์ในระบบจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญ
เพราะจดหมายมีการรับส่งโดยระบบ ซึ่งหากมีจดหมายค้างในระบบจำนวนมากจะทำให้พื้นที่
บัฟเฟอร์ของจดหมายในระบบหมด จะเป็นผลให้ระบบไม่สามารถรับส่งจดหมายต่อไปได้
หลายต่อหลายครั้งระบบปฏิเสธการรับส่งจดหมายเพราะไฟล์ระบบเต็ม
ดังนั้นจึงควรมีความรับผิดชอบในการดูแลตู้จดหมาย (mail box) ของตนเองดังนี้
1. ตรวจสอบจดหมายทุกวันและจะต้องจำกัดจำนวนไฟล์และข้อมูลในตู้จดหมายของตนให้เลือกภายในโควต้า
ที่กำหนด
2. ลบข้อความหรือจดหมายที่ไม่ต้องการแล้วออกจากดิสก์เพื่อลดปริมาณการใช้ดิสก์ให้จำนวนจดหมายที่อยู่ในตู้จดหมาย
(mail box) มีจำนวนน้อยที่สุด
3. ให้ทำการโอนย้ายจดหมายจากระบบไปไว้ยังพีซีหรือฮาร์ดดิสก์ของตนเองเพื่อใช้อ้างอิงในภายหลัง พึงระลึกเสมอว่าจดหมายที่เก็บไว้ในตู้จดหมายนี้อาจถูกผู้อื่นแอบอ่านได้
ไม่ควรเก็บข้อมูลหรือจดหมายที่คุณคิดว่าไม่ใช้แล้วเสมือนเป็นประกาศไว้ในตู้จดหมาย
จรรยาบรรณสำหรับผู้สนทนา (Chat) บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีคำสั่งให้ใช้ในการโต้ตอบกันอย่างออนไลน์หลายคำสั่งเช่น
Write; talk หรือมีการสนทนา
เป็นกลุ่มเช่น IRC เป็นต้น
ในการเรียกหาหรือเปิดการสนทนาตลอดจนการสนทนาจะต้องมีมารยาทที่สำคัญได้แก่
1. ควรเรียกสนทนาจากผู้ที่เรารู้จักและต้องการสนทนาด้วย
หรือมีเรื่องสำคัญที่จะติดต่อด้วย
ควรระลึกเสมอว่าการขัดจังหวะผู้อื่นที่กำลังทำงานอยู่อาจสร้างปัญหาให้ได้
2. ก่อนการเรียกคู่สนทนาควรสอบสถานการณ์ใช้งานของคู่สนทนาที่ต้องการเรียกเพราะการเรียกแต่ละครั้งจะมีข้อความไปปรากฏบนจอภาพของฝ่ายถูกเรียกซึ่งก็สร้างปัญหาการทำงานได้
เช่น ขณะกำลังทำงานค้าง ftp ซึ่งไม่สามารถหยุดได้
3. หลังจากเรียกไปชั่วขณะคู่ที่ถูกเรียกไม่ตอบกลับ
แสดงว่าคู่สนทนาอาจติดงานสำคัญ
ขอให้หยุดการเรียกเพราะข้อความที่เรียกไปปรากฏบนจออย่างแน่นอนแล้ว
4. ควรให้วาจาสุภาพ
และให้เกียรติซึ่งกันและกัน การแทรกอารมณ์ขัน
ควรกระทำกับคนที่รู้จักคุ้นเคยแล้วเท่านั้น
จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้กระดานข่าว
ระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ ระบบข่าวสารที่ให้บริการในสังคมอินเทอร์เน็ตมีหลายระบบ เช่น ยูสเน็ตนิสว์ (UseNet News) ระบบสมาชิกแจ้งข่าวหลายสมาคม
บอกรับสมาชิกและให้ข่าวสารที่สม่ำเสมอกับสมาชิกด้วยการส่งเป็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
ที่เรียกว่า Mailing lists ผู้เสนอ
ข่าวและผู้อภิปรายเรื่อง ต่าง ๆ ที่เขียนลงไปจะกระจายออกไปทั่วโลก
เช่นข่าวบนยูสเน็ตนิวส์แต่ละกลุ่มเมื่อส่งออกจะกระจาย ไปยังเซิร์ฟเวอร์อื่น ๆ
ทั่วโลก ผู้ใช้บริการโดยเฉพาะที่ต้องการเขียนข่าวสารบนกระดาษ ข่าวจะต้องเคารพกฎกติกามารยาทโดยเคร่งครัดข้อปฏิบัติที่สำคัญได้แก่
1. ให้เขียนเรื่องให้กระชับ
ข้อความควรสั้นและตรงประเด็กไม่กำกวม ใช้ภาษาที่เรียบงาน สุภาพเข้าใจได้ในแต่ละเรื่องที่เขียนให้ตรงโดยข้อความที่เขียนควรจะมีหัวข้อเดียวต่อเรื่อง
2. ในการเขียนพาดพิงถึงผู้อื่น
ให้ระมัดระวังในการละเมิดหรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น
การให้อีเมล์อาจตรงประเด็นกว่า
3. ให้แหล่งที่มาของข้อความ
ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้
ไม่เรียกว่าโคมลอยหรือข่าวลือหรือเขียนข่าวเพื่อความสนุกโดยขาดความรับผิดชอบ
4. จำกัดความยาวของข่าว
และหลีกเลี่ยงตัวอักษรควบคุมพิเศษอื่น ๆ เพราะหลายเครื่องที่อ่านข่าวอาจมีปัญหาในการแสดงผล
5. ข่าวบางข่าวมีการกระจายกันมาเป็นลำดับให้
และอ้างอิงต่อ ๆ กันมาการเขียนข่าวจึงควรพิจารณาในประเด็นนี้ด้วย
โดยเฉพาะอย่าส่งจดหมายตอบโต้ไปยังผู้รายงานข่าวผู้แรก
4. ไม่ควรให้เครือข่ายของมหาวิทยาลัยเพื่อประโยชน์ทางการค้าหรืองานเฉพาะของตนเพื่อประโยชน์ส่วนตนในเรื่อง
การค้า
5. การเขียนข่าวทุกครั้งจะต้องลงชื่อ
และลายเซ็นตอนล่างของข้อความเพื่อบอกชื่อ
ตำแหน่งแอดเดรสที่อ้างอิงได้ทางอินเทอร์เน็ต
หรือให้ที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้
6. ในการทดสอบการส่งไม่ควรทำพร่ำเพื่อการทดสอบควรกระทำในกลุ่มข่าวท้องถิ่นที่เปิดให้ทดสอบการส่งข่าวอยู่แล้ว
เพราะการส่งข่าวแต่ละครั้งจะกระจายไปทั่วโลก
7. หลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรใหญ่ตัวอักษรใหญ่ที่มีความหมายถึงการตะโกนหรือการแสดงความไม่พอใจใน
8. การเน้น
คำให้ใช้เครื่องหมาย * ข้อความ* แทน
9. ไม่ควรนำข้อความที่ผู้อื่นเขียนไปกระจายต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของเรื่อง
10. ไม่ควรใช้ข้อความตลกขบขันหรือคำเฉพาะคำกำกวม
หรือคำหยาบคายในการเขียนข่าว
11. ให้ความสำคัญในเรื่องลิขสิทธิ์ไม่ควรละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น
12. ไม่ควรคัดลอกข่าวจากที่อื่นเช่น
จากหนังสือพิมพ์ทั้งหมดโดยไม่มีการสรุปย่อและเมื่อส่งข่าวย่อจะต้องอ้างอิงที่มา
13. ไม่ควรใช้กระดานข่าวเป็นที่ตอบโต้หรือละเมิดผู้อื่น
14. เมื่อต้องการใช้คำย่อ
คำย่อที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป เช่น
IMHO-in my humble / honest
opinion
FYI-for your information
BTW-by the way
15. การเขียนข้อความจะต้องไม่ใช้อารมณ์หรือความรู้สึกส่วนตัวและระลึกเสมอว่าข่าวที่เขียนหรือ
16. อภิปรายนี้กระจายไปทั่วโลก
และมีผู้อ่านข่าวจำนวนมาก
16. ในการเขียนคำถามลงในกลุ่มข่าวจะต้องส่งลงในกลุ่มที่ตรงกับปัญหาที่เขียนนั้น
และเมื่อจะตอบก็ต้องให้ตรงประเด็น
17. ในการบอกรับข่าวด้วย
mailing list และมีข่าวเข้ามาจำนวนมากทางอีเมล์จะต้องอ่านข่าว
และโอนมาไว้ที่เครื่องตน (พีซี) หรือลบออกจาก mail
box และหากไม่อยู่หรือไม่ได้เปิดตู้จดหมายเกินกว่าหนึ่งสัปดาห์จะต้องส่งไปบอกยกเลิกการรับ
เพื่อว่าจะได้ไม่มีจดหมายส่งเข้ามามาก
บัญญัติ 10
ประการ ต่อไปนี้เป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้เสมือนเป็นแม่บทแห่งการปฏิบัติเพื่อระลึกและเตือนความจำเสมอ
1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3. ต้องไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น
4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ
10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ
กติกามารยาท
จรรยาบรรณเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นระเบียบความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นเรื่องที่จะต้องปลูกฝังกฎเกณฑ์ของแต่ละเครือข่ายจึงต้องมีการวางระเบียบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบและเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน
บางเครือข่ายมีบทลงโทษและจรรยาบรรณที่ชัดเจน
เพื่อช่วยให้สังคมสงบสุขและหากการละเมิดรุนแรงกฎหมายก็จะเข้ามามีบทบาทได้เช่นกัน
4.3. แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลต่อจริยธรรม
ผลกระทบด้านจริยธรรมและสังคมของระบบสารสนเทศ ระบบข้อมูลสารสนเทศนั้น
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการดูแลรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องด้วย
แผนกสารสนเทศเพื่อการจัดการมีนโยบายที่แน่นอนในการจัดการข้อมูลให้เกิดความปลอดภัย
ใช้อย่างถูกต้อง และเป็นประโยชน์ ซึ่งเราจะกล่าวถึงรายละเอียดในบทนี้
จริยธรรมก็เป็นสิ่งสำคัญของผู้ที่ทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้องกันเทคโนโลยีสารสนเทศ
ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องตระหนักไว้และให้ความสำคัญ ความเข้าใจประเด็นด้านจริยธรรมและด้านสังคมที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ
จริยธรรม (Ethics) หมายถึง
ความถูกต้องหรือไม่ถูกต้องที่เป็นตัวแทนศีลธรรมที่เป็นอิสระในการเลือกที่จะชักนำพฤติกรรมบุคคล
เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศ [Information
Technology (IT)] และระบบสารสนเทศ [Information Systems (IS)] ทำให้เกิดปัญหาความแตกต่างกันระหว่างบุคคลและสังคม
เพราะทั้งสองสิ่งนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม
ในบางครั้งการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมนำมาซึ่งสิ่งที่เรียกว่าความรับผิดชอบต่อสังคม
แต่อย่างไรก็ตามการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)
ใหม่ ๆ
สามารถทำให้เกิดการกระจายอำนาจให้องค์การการบุกรุกสิทธิส่วนบุคคลขอผู้อื่นหรือของคู่แข่งขัน
การตกงาน การประกอบอาชญากรรมข้อมูล ตลอดจนการเกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศ [Information
Technology (IT) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) มีอิทธิพลอย่างมากในเรื่องการกระจายอำนาจ
ทรัพย์สิน สิทธิ และความรับผิด (Obligation)
การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ทำให้เกิดผู้แพ้ ผู้ชนะ
ผู้ได้ประโยชน์
จากภาวะเช่นนี้ทำให้เกิดการกระทำที่เป็นความรับผิดชอบด้านจริยธรรมและด้านสังคมขึ้น
ข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับจริยธรรมขอผู้ใช้คอมพิวเตอร์
การพิจารณาถึงจริยธรรมของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (Ethical considerations) จริยะธรรมของนักคอมพิวเตอร์หรือผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั้งหลายนั้นจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความชอบธรรม
เพราะคนเราย่อมรู้ว่าอะไรผิดอะไรถูกหาก
ไม่มีความเที่ยงธรรมหรือซึ่งสัตย์ในเรื่องของข้อมูลข่าววารแล้วย่อมล่อแหลมต่อความเสียหายในองค์กรมีตัวอย่าง
เช่น
พนักงานในองค์กรได้ขายข้อมูลสำคัญของบริษัทโดยที่เขาไม่ได้คำนึงหรือรับรู้ถึงลำดับชั้นความลับข้อมูลขององค์กร
และก็ไม่ได้คิดที่จะปกป้องข้อมูลขององค์กร
จำเป็นอย่างยิ่งที่พนักงานคนดังกล่าวจะต้องมีจิตสำนึกในเรื่องการรักษาข้อมูลขององค์กรที่ตนสังกัดอยู่
ด้วยเหตุนี้จริยธรรมของผู้ใช้คอมพิวเตอร์จึงมีความสำคัญ แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าคนที่ไม่มีจริยธรรมใดจะต้องทำผิดกฎเกณฑ์การใช้ข้อมูลเสมอไป
ลองพิจารณาดูตัวอย่างดังต่อไปนี้ประกอบ (1) ผู้ใช้ทรัพยากรข้อมูลคอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องการอาชญากรรมข้อมูลเสมอไป
ในประเด็นนี้มีคำถามเสมอว่าผู้ใช้มีจริยธรรมมากน้อยแค่ไหน เช่น
ใครบางคนใช้ซอฟต์แวร์โดยที่ตัวเองไม่ได้เป็นเจ้าของ
คือเดียงแต่ลองใช้ดูก่อนที่จะซื้อเท่านั้น
ในขณะที่ผู้ขายไม่ต้องที่จะให้ใครลองใช้ก่อนซื้อ เป็นต้น (2) การที่นักศึกษาได้ลองเข้าไปดูข้อมูลบางอยู่สงในระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
(Mainframe) ของมหาวิทยาลัยโดยไม่ได้ตั้งใจ
และไม่ได้คิดที่จะขโมยข้อมูลใด ๆ ในลักษณะนี้อาจจะถือได้ว่าเป็นการขาดจริยธรรมการใช้ข้อมูลใช่หรือไม่
(3) ซอฟต์แวร์ระบบใหม่ที่ผลิตขึ้นโดยบริษัทใด แต่ทำไม่สมบูรณ์ไม่อาจทดสอบและส่งมอบให้ได้ภายในเวลาที่สัญญาไว้
หรือส่งให้ได้แต่มีข้อผิดพลาด การที่ผู้พัฒนาผลิตซอฟต์แวร์ได้รุ่นที่ไม่สมบูรณ์เช่นนี้จำเป็นต้องบอกลูกค้าให้ชัดเจนใช้หรือไม่
ความสัมพันธ์ระหว่างคอมพิวเตอร์และปัญหาด้านจริยธรรม (Computer-related ethical issues) สิ่งที่ต้องคำนึงถึงและถือว่าเป็นมิติของจรรยาบรรณสำหรับผู้ทำงานกับระบบข้อมูลข่าวสารสามารถแบ่งออกได้เป็น
4 ส่วนด้วยกัน คือ (1) ความเป็นส่วนตัว (Privacy)
(2) ความถูกต้อง (Accuracy) (3)
ความเป็นเจ้าของ (Property) (4)
การเข้ามาใช้ข้อมูล (Access)
1. ความเป็นส่วนตัง (Privacy) เป็นความเกี่ยวข้องกับการรวบรวมและใช้ข้อมูลสำหรับส่วนบุคคล
และ เก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์
โดยทังไปชาวอเมริกันถือว่าในเรื่อสิทธิ์ความเป็นส่วนตัวมาก โดยเฉพาะข้อมูลข่าวสารต่าง
ๆ หากไม่ได้รับอนุญาตแล้วจะเข้ามาสังเกตและเรียกใช้ข้อมูลไม่ได้
ทรัพยากรข้อมูลที่มีอยู่ถือว่าเป็นความลับส่วนบุคคลทีเดี่ยวซึ่งตรงกันข้ามกับวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญในเรื่องนี้น้อยกว่าชาวอเมริกันมาก
2. ความถูกต้อง (Accuracy) การทำงานในองค์กรนั้นขึ้นอยู่กับข้อมูลข่าวสารเป็นสำคัญ
การเก็บฐานข้อมูลไว้ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นอาจมีข้อผิดพลาดได้
อาจจะเก็บรวบรวมข้อมุมูลที่ไม่ถูกดต้อง
หรือมีการแอบเข้ามาแก้ไขข้อมูลที่ถูกต้องก็ได้
3. ความเป็นเจ้าของ (Property) เนื่องจากในปัจจุบันข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สามารถแพร่กระจายไปได้ในรูปของสื่อสารแบบต่าง
ๆ
สิทธิ์ในการเป็นเจ้าของข้อมูลและโปรแกรมอย่างถูกต้องนั้นยังเป็นคำถามที่ยาต่อการตอบในเชิงจริยธรรมเป็นอย่างยิ่ง
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาได้มีผลคุ้มครองต่อความถูกต้องของวิชาชีพและนักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ถึงแม้ว่าทรัพย์สินทางปัญญาของเขาจะมีลักษณะแตกต่างจากทรัพย์สินชนิดอื่น ๆ เช่น
บ้าน รถยนต์
อย่างไรก็ตามการพิจารณาในเรื่องข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้มักเป็นเรื่องที่ชี้ชัดให้เกิดความกระจ่างได้ยาก
4. การเข้าถึงข้อมูล (Access) ธรรมชาติขิงผู้ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลหรือใช้ข้อมูลนั้น
จะพิจารณาถึงความสามารถที่ใช้คือเอาข้อมูลจากฐานข้อมูลขององค์กรมาใช้ได้อย่างเหมาะสมซึ่งข้อมูลจะถูกจัดลำดับความสำคัญไว้ในระดับที่แตกต่างกันไป
ข้อมูลที่มีอิทธิพลต่อการแข่งขันจำเป็นต้องใช้รหัสพิเศษก่อนที่ผู้ใช้จะมีสิทธิใช้งาน
และ สามารถใช้ได้อย่างจำกัดดังตัวอย่าง
บริษัทที่มีประวัติข้อมูลลูกค้าทั้งในอดีตและปัจจุบัน
เจ้าของบริษัทสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลของลูกค้าเหล่านั้นหรือไม่
และบริษัทดังกล่าวจะขายรายชื่อลูกค้าพร้อมกับรายละเอียดส่วนตัวให้กับบริษัทอื่นได้หรือไม่
คำถามเหล่านี้ล้วนเกี่ยวข้องกับจริยธรรมของผุ้ครอบครองข้อมูลทั้งสิ้น
แนวทางทั่วไปสำหรับการเผชิญกับการแก้ปัญหาทางด้านจริยธรรมข้อมูล (General
guidelines for resolving ethical dilemmas) ในเรื่องของจริยธรรมของผู้ใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังไม่ได้มีการกำหนดไว้
แน่นนอนตายตัวว่ามีอะไรบ้าง
หากแต่ผู้ใช้และนักวิชาชีพคอมพิวเตอร์ต้องตระหนักและมีจิตสำนึก
ตลอดจนหยั่งรู้ถึงความรับผิดชอบต่อการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสม
อย่างไรก็ตามเราสามารถรวบรวมแนวทางทั่วไปด้านจริยธรรมเมื่อเผชิญกับปัญหาในด้านการใช้ข้อมูลสารสนเทศได้ดังนี้
(1) การกระทำใด ๆ ของเราเกี่ยวกับข้อมูลนั้นได้มีการพิจารณาไตร่ตรองรอบคอบและไม่ขัดต่อกำหลักที่ว่า
“เราดูแลเอาใจใส่ปฏิบัติต่อคนอื่นเหมือนที่เราต้องการให้เขาปฏิบัติต่อเรา” หรือไม่ (2) พิจารณาถึงกลุ่มบุคคลที่จะได้ประโยชน์จากการกระทำของเราเป็นต้นว่าเป็นบุคคลกลุ่มใหญ่บุคคลกลุ่มน้อยหรือได้รัยประโยชน์เฉพาะตัวเราเท่านั้น
(3) การมีนโยบายบริหารและจัดการข้อมูลอย่างคงเส้นคงวาของบริษัท
ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม ต้องยืดไว้ซึ่งความถูกต้องและยุติธรรม
รวมทั้งการไม่รับสินบนใด ๆ จากบริษัทผู้ขาย (4) การกระทำใด ๆ
ของบริษัทขัดแย้งกับจริยธรรมของการเขียนรหัสหรือไม่
แบบจำลองที่แสดงเกี่ยวกับประเด็นด้านจริยธรรม
สังคม และการเมือง (A model for
thinking about ethical. Social, and political issues) ทั้งสามประเด็นนี้จะมีความสัมพันธ์กันอย่างมาก
ภาวะที่คับขันทางด้านจริยธรรมเป็นสิ่งที่ผู้จัดการทุกคนต้องเผชิญ
ทัศนะทางจริยธรรม 5 ประการ ของยุคสารสนเทศ (Five moral dimensions of the information age) มีดังนี้
1. สิทธิด้านสารสนเทศและพันธะหน้าที่ (Information rights and obligations) สิทธิด้านสารสนเทศอะไรที่องค์การพึงมี
และความรับผิดอะไรที่บุคคลและองค์การพึงมี
2. สิทธิของทรัพย์สิน (Property rights) ในสังคมที่ไม่มีความชัดเจนในเรื่องสิทธิของทรัพย์สิน
จะต้องพิจารณาสังคมนั้นควรจะมีการปกป้องสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาอย่างไร
3. ความรับผิดชอบในหน้าที่และการควบคุม (Accountability and control) การพิจารณาถึงบุคคลที่จะเป็นผู้ที่รับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้นที่เป็นอันตรายต่อสิทธิของบุคคล
สิทธิของสารสนเทศ และสิทธิของทรัพย์สิน
4. คุณภาพระบบ (System quality) เป็นการพิจารณาว่าระบบควรมีมาตรฐานและคุณภาพ
เพื่อการปกป้องสิทธิส่วนบุคคล และความปลอดภัยของสังคม
5. คุณภาพชีวิต (Quality of life) เป็นการพิจารณาว่าค่านิยมใดที่ควรจะรักษาไว้ในสังคมที่ใช้ข่าวสารการมีความรู้พื้นฐาน
สถาบันใดที่ควรจะได้รับการปกป้องให้พ้นจากการละเมิดฝ่าฝืน การละเมิดค่านิยม
และความประพฤติด้านสังคม การประพฤติเชิงสังคมอย่างไรที่ควรจะได้รับการสนับสนุนจากระบบสารสนเทศ
[Information
systems (IS)] ใหม่ ๆ
ก่อนที่จะทำการวิเคราะห์ทัศนะทั้งหมดนี้
เราควรที่จะศึกษาแนวโน้มของระบบ
และเทคโนโลยีหลักที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเหล่านี้ด้วย
แนวโน้มของเทคโนโลยีที่สำคัญที่ทำให้เกิดประเด็นทางจริยธรรม
(Key technology
trends which raise ethical issues) ประเด็นด้านจริยธรรม (Ethical issues) เป็นประเด็นที่มีการค้นคว้ามาก่อนประเด็นของระบบสารสนเทศ
[Information
System (IS)] อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีสารสนเทศได้ทำให้ประเด็นด้านจริยธรรมเข้มเข็งขึ้น
และทำให้เกิดการปรับปรุทางสังคมอย่างแท้จริง
แนวโน้มทางด้านเทคโนโลยีที่สามารถอธิบายเกี่ยวกับประเด็นจริยธรรมนี้มี 4 ประการ
คือ
1. การทวีคูณของความสามารถในการคำนวณ (The doubling of computing power) จากคุณภาพ
ข้อมูล
ที่ไม่ดีและความผิดพลาดของระบบที่มีเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลาทำให้คนหันมาสนใจในเรื่องระบบมากขึ้น
ในอดีตกฎระเบียบและกฎหมายสังคมยังไม่ได้ปรับให้ใช้กับบุคคลที่ถูกละเมิดข้อมูล
รวมทั้งความถูกต้องของระบบสารสนเทศ [Information
Systems (IS)] ที่ไม่มีมาตรฐานและไม่ได้การรับประกันซึ่งเป็นที่ยอมรับ
แม้ว่าในปัจจุบันจะได้มีการพัฒนาระบบที่เกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านี้ให้ดีขึ้นแล้วแต่ก็ยังไม่สามารถขจัดปัญหาดังกล่าวให้หมดไปได้
2. ความก้าวหน้าของที่เก็บข้อมูล (Advances in data storage) เทคนิคและที่เก็บข้อมูลมีการพัฒนาทำให้ที่เก็บข้อมูลมีราคาต่ำลง
และสามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากขึ้นถึง 55 เทียราไบท์/27 ตารางฟุต (Teranytes/27 square-foot space) การเข้าถึงข้อมูลสามารถทำได้อย่างรวดเร็วเมื่อฐานข้อมูลมีความจุมากขึ้นและราคาถูกพอที่จะนำมาใช้ในการเก็บและแจกแจงข้อมูลของลูกค้าได้
ในบางครั้งก็มีผู้ที่ล่วงล้ำสิทธิส่วนบุคคลโดยการเข้าไปดูข้อมูลของผู้อื่นจากฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพนี้
3. ความก้าวหน้าในเทคนิคการเจาะข้อมูลในฐานข้อมูลขนาดใหญ่
(Advances in
data mining techniques for large database) ผลจากการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่อย่างแพร่หลายทำให้เกิดความเสมอภาคในสังคม
เพราะในอดีตเครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านี้ถูกใช้เฉพาะกลุ่มสังคมชั้นสูง เช่น
ธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ เช่น รัฐบาลต้องทำอย่างไรประชาชนจึงจะสามารถรักษาความเสอมภาคภายในสังคมได้
รวมทั้งสนับสนุนในการเข้าถึงข้อมูลที่มีความกระจัดกระจาย
พร้อมทั้งนำเอาข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ได้
4. ความก้าวหน้าในโครงสร้างพื้นฐานของโทรคมนาคม
(Advances in the
telecommunications infrastructure) ในการเข้าถึงข้อมูลขนาดใหญ่โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเป็นสิ่งที่ทำได้ในปัจจุบันและสามารถเจาะข้อมูลขนาดใหญ่ในที่ห่างไกลได้
ซึ่งในบางครั้งอาจเป็นการล่วงล้ำสิทธิส่วนบุคคล
การพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารทางด่วน (Superhighway
communication networks) โดยใช้ระบบดิจิตอลสำหรับธุรกิจและบุคคลทำให้เกิดผลกระทบทางด้านจริยธรรมและสังคม
ซึ่งไม่สามารถหาผู้ที่รับผิดชอบการไหลหรือการกระจายของข้อมูลในเครือข่ายได้
จริยธรรมในสังคมสารสนเทศ (Ethics
in an information society) เป็นเรื่องเกี่ยวกับทางเลือกของบุคคล
เมื่อต้องเผชิญในการปฏิบัติ
ซึ่งจะต้องพิจารณาว่าอะไรเป็นทางเลือกที่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม
แนวคิดพื้นฐาน : ความรับผิดชอบ ภาระหน้าที่ และภาระผูกพันการชำระหนี้ (Basic concepts : Responsibility, Accountability
and liability) ประกอบด้วย
1. ความรับผิดชอบ (Responsibility) เป็นลักษณะเฉพาะของบุคคล
และเป็นองค์ประกอบหลักในการกระทำในด้านจริยธรรม ความรับผิดชอบ
การยอมรับในเรื่องค่าใช้จ่าย หน้าที่การงาน ความรับผิดชอบที่ต้องเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
2. ภาระหน้าที่ (Accountability) เป็นลักษณะของระบบและสถาบันทางสังคม
ซึ่งเป็นกลไกที่เป็นตัวกำหนดว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบในการกระทำ
ระบบและสถาบันที่อยู่ในสภาพที่หาคนรับผิดชอบไม่ได้
ก็จะเป็นการยากที่จะวิเคราะห์ด้านจริยธรรม
3. ภาระความรับผิด (Liability) เป็นลักษณะของระบบทางการเมือง
หมายถึงข้อกำหนดตามกฎหมายที่ให้บุคคลชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลอื่น
รวมถึงระบบ และองค์การด้วย
4. กระบวนการในการยื่นอุทธรณ์ (Due process) เป็นลักษณะที่เกี่ยวข้องกับสังคมที่ใช้กฎหมายในการปกครอง
หมายถึงกระบวนการทางกฎหมายที่ถูกใช้จนเป็นที่รู้จัก
และเป็นขบวนการตามขั้นตอนที่ทำให้บุคคลสามารถยื่นอุทธรณ์กับเจ้าหน้าที่ระดับสูงเพื่อตรวจสอบว่าได้มีการใช้กฎหมายอย่างถูกต้อง
แนวความคิดทั้งหมดนี้ใช้ในการสร้างกรอบ
หรือเกณฑ์ในการวิเคราะห์ระบบสารสนเทศ [Information
Systems (IS)] ทางด้านจริยธรรม
ซึ่งสามารถแบ่งการศึกษาออกได้เป็น 3 ส่วน คือ (1) จะศึกษาเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ [Information Systems (IS)] ขององค์กร
สถาบัน และบุคคล ซึ่งเป็นตัวเผยแพร่เทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้น
(2)
จะศึกษาเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นกับสถาบันองค์การ
และ บุคคลที่ใช้เทคโนโลยี การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ [Information Technology (IT)] ในท่าทีที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม
ซึ่งหมายถึง การที่สามารถรับผิดชอบในการกระทำ (3) จะศึกษาว่าสังคม การเมือง บุคคล
และกลุ่มอื่น ๆ สามารถแก้ไขข้อเสียหายทางจริยธรรมที่เกิดขึ้นได้อย่างไร
โดยผ่านขบวนการในการยื่นอุทธรณ์ได้ (Due
process)
ประมวลด้านการปฏิบัติของผู้เชี่ยวชาญ (Professional codes of conduct) ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ต้องมีสิทธิพิเศษและความรับผิดชอบ
โดยเขาต้องรับผิดขอบต่อกฎระเบียบข้อบังคับของการเป็นผู้เชี่ยวชาญ
โดยกำหนดจากคุณสมบัติ และความสามารถ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
ตลอดจนการได้รับการยอมรับในความรู้ และสติปัญญาสิทธิทางด้านทรัพย์สิน : ทรัพย์สินทางปัญญา
ระบบสารสนเทศ [Information
Systems (IS)] ได้ท้าทายกฎหมายให้คุ้มครองในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา
เพราะเนื่องจากมีการขโมยและการลักลอบเลียนแบบซอฟต์แวร์
ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual
property) เป็นทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ ถูกสร้างโดยบุคคล
หรือบริษัท และอยู่ภายใต้การคุ้มครองของกฎหมาย 3 ประการ ดังนี้ (1) ความลับทางการค้า
(Trade secrets)
(2) ลิขสิทธิ์ (Copyright) (3)
สิทธิบัตร (Patents) การคุ้มครองทั้ง
3 แบบ เป็นแบบการคุ้มครองที่แตกต่างกันในเรื่องของ ซอฟต์แวร์ (Software)
ระบบความปลอดภัย (Security
systems) เนื่องจากว่าระบบข้อมูลข่าวสารเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารงานในปัจจุบัน
และยังเป็นอาวุธสำคัญในการแข่งขัน
เพราะข้อมูลข่าวสารช่วยทำให้เราชิงความได้เปรียบในเชิงธุรกิจ
ในเมื่อข้อมูลสารสนเทศมีความสำคัญมากเช่นนี้
เราจะดูแลและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลดังกล่าวนั้นอย่างไร แท้จริงแล้วคำว่า
ระบบความปลอดภัยในที่นี้จะหมายความถึงการป้องกันการลักลอบขโมยและทำลายทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์
เช่น ฮาร์ตแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล วีการดำเนินงานและบุคลากรทางด้านคอมพิวเตอร์
ระบบความปลอดภัยสำหรับคอมพิวเตอร์ และข้อมูลสารสนเทศนั้นมีขึ้นมากเป็นลำดับ
จากคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นแบบรวมศูนย์
ต่อมาการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคอมพิวเตอร์ลูกข่ายมีมากขึ้น
เนื่องจากลูกข่ายมีลักษณะงานจำเพาะแตกต่างกันออกไป
องค์กรขนาดใหญ่บางองค์การใช้ระบบ EDI
กับลูกข่ายด้วย
ดังนั้นการควบคุมรักษาความปลอดภัยของข้อมูลจากส่วนกลาง ไม่สามารถทำได้อย่างทั่วถึง
อุปสรรค์ในการรักษาความปลอดภัยมีเพิ่มมากขึ้นพร้อม ๆ กับการขยายตัวขององค์กร
ประเภทการป้องกันสำหรับซอฟต์แวร์ (Kinds of protections for software) มีดังนี้
1. ความลับทางการค้า (Trade secrets) อะไรก็ตามที่เป็นผลผลิตทางปัญญา
เช่น สูตร เครื่องมือ แบบแผนด้านธุรกิจ จะถูกจัดเป็นความลับทางการค้า
ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับสาธารณชนในการที่จะเปิดเผย และมีพื้นฐานที่ขึ้นอยู่กับรัฐ (State) แต่ไม่ได้มีฐานมาจากกฎหมายส่วนกลาง
(Federal) และเรื่องการคุ้มครองนี้จะขึ้นอยู่กับแต่ละรัฐ
2. ลิขสิทธิ์ (Copyright)
หมายถึง
สิทธิ์คุ้มครองตามกฎหมายที่รัฐบาลมอบให้แก่ผู้ผลิตที่ผลิตผลงานทางด้านสติปัญญา
รวมทั้งสิทธิ์ในการเผยแพร่ (ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ.2540:154)
เป็นการได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติที่ใช้ในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาจากการลักลอบเลียนแบบ
เป็นเวลา 28 ปีแล้วที่การคุ้มครองดังกล่าวมีความชัดเจน และสามารถป้องกันการเลียนแบบทั้งหมด
หรือเลียนแบบบางส่วนได้
3. สิทธิบัตร (Patents) หมายถึง
สิทธิตามกฎหมายที่รัฐบาลมอบให้แก่บุคคลที่ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ
โดยสิทธิ์ดังกล่าวมีมูลค่าที่จะจำหน่ายจ่ายโอนได้
สิทธิบัตรที่จดทะเบียนสามารถป้องกันการลอกเลียนแบบได้ (ศิริวรรณ เสรีรัตน์
และคณะ.2540:574) ถือเป็นเอกสารทางกฎหมายที่ทำให้เจ้าของสามารถผูกขาดทางความคิดก่อนที่จะสร้างหรือผลิต
เป็นเวลา 17 ปี เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ที่คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ
จะได้รับรางวัลจากความคิดของเขาอย่างแพร่หลาย
แนวความคิดของกฎหมายนี้จึงเป็นแหล่งกำเนินที่มาของความแปลกใหม่ในการประดิษฐ์
จุดแข็งของการคุ้มครองประเภทนี้คือ
การได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ผูกขาดในเรื่องของความคิด
เพราะความยากลำบากที่จะต้องผ่านมาตรฐานที่เคร่งครัด
ที่มีความชัดเจนในการขอลิขสิทธิ์
4. ประเด็นด้านจริยธรรม (Ethical issues) การที่เราจะลอกเลียนแบบโปรแกรมเราควรคำนึงว่าโปรแกรมนั้นมีการคุ้มครองหรือไม่
เพราะในยุคสารสนเทศเราสามารถที่จะลอกเลียนแบบได้อย่างง่ายดาย
หลายบริษัทจึงมีการออกกฎหมายในการคุ้มครองซอฟต์แวร์ (Software) ใหม่ก็จะไม่เกิดขึ้นเพราะผู้ผลิตไม่ได้รับผลประโยชน์จากงานที่เขาทำนั่นเอง
ตัวอย่างของการลุกล้ำหรือลอกเลียนแบบซอฟต์แวร์ เช่น การวิจัยการตลาด
การเฝ้าดูและติดตาม (การเฝ้าดูพฤติกรรม) เป็นต้น
5. ประเด็นด้านสังคม (Social issues) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความคาดหวังหรือบรรทัดฐานของความเป็นส่วนตัว
และทัศนคติจากสาธารณชน มีผู้เชี่ยวชาญหลายคนเห็นว่ากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญากำลังถูกทำลายในยุคของสารสนเทศ
เนื่องจากการฝ่าฝืนเล็กๆ น้อยๆ ไปถึงเรื่องใหญ่เช่น การเปลี่ยนความเร็ว
หรือการพิมพ์ตัวโปรแกรมต้นฉบับออกมาดู
6. ประเด็นด้านการเมือง (Political issues) เป็นเรื่อง
ที่มาของข้อมูล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น