บทที่ 2
ระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์
2.1. ความหมายระบบคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า
Computare ซึ่งหมายถึงการนับหรือการคำนวณพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า “เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติทำหน้าที่เหมือนสมองกลใช้สำหรับ
แก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์”
คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูลทั้งตัวเลข
และตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไปนอกจากนี้ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง
โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่างๆอีกมากอาทิ
เช่น การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล
การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่องและสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆได้ ความเป็นจริงแล้วตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราเห็นๆกันอยู่นี้เป็นเพียงองค์ประกอบส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์เท่านั้น
แต่ถ้าต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่เราต้องการนั้นจำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบพื้นฐาน
3 ประการ
มาทำงานประสานร่วมกัน ซึ่งองค์ประกอบพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วย
ฮาร์ดแวร์(Hardware) ซอฟต์แวร์(Software) และบุคลากร (Peopleware)
2.2. องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างเป็นระบบ(System)
หมายถึงภายในระบบงานคอมพิวเตอร์
ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยที่มีหน้าที่เฉพาะ ทำงานประสานสัมพันธ์กัน
เพื่อให้งานบรรลุตามเป้าหมาย ในระบบงานคอมพิวเตอร์
การที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียว จะยังไม่สามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง
ซึ่งหากจะให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพแล้ว
ระบบคอมพิวเตอร์ควรจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบคือ
ฮาร์ดแวร์ ( HARDWARE), ซอฟต์แวร์ (SOFTWARE), บุคลากร
(PEOPLEWARE) ข้อมูล (DATA), สารสนเทศ (INFORMATION), กระบวนการทำงาน (PROCEDURE)
1. ฮาร์ดแวร์ (HARDWARE) ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบของตัวเครื่องที่สามารถจับต้องได้ ได้แก่ วงจรไฟฟ้า
ตัวเครื่อง จอภาพ เครื่องพิมพ์ คีร์บอร์ด
เป็นต้นซึ่งสามารถแบ่งส่วนพื้นฐานของฮาร์ดแวร์เป็น 4 หน่วยสำคัญ
1.1. หน่วยรับข้อมูลหรืออินพุต (Input
Unit) ทำหน้าที่รับข้อมูลและโปรแกรมเข้า
เครื่อง ได้แก่ คีย์บอรืดหรือแป้นพิมพ์ เมาส์ เครื่องสแกน เครื่องรูดบัตร Digitizer
เป็นต้น
1.2. ระบบประมวลผลกลางหรือซีพียู (CPU
: Central Processing Unit) ทำหน้าที่ในการทำงานตามคำสั่งที่ปรากฏอยู่ในโปรแกรม
ปัจจุบันซีพียูของเครื่องพีซี รู้จักในนามไมโครโปรเซสเซอร์ (Micro
Processor) ไมโครโปรเซสเซอร์
มีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล ในลักษณะของการคำนวณและเปรียบเทียบ
โดยจะทำงานตามจังหวะเวลาที่แน่นอน เรียกว่าสัญญาณClockเมื่อมีการเคาะจังหวะหนึ่งครั้ง ก็จะเกิดกิจกรรม1ครั้ง
เราเรียกหน่วยที่ใช้ในการวัดความเร็วของซีพียูว่า “เฮิร์ท”(Herzt)
1.3. หน่วยเก็บข้อมูล (Storage)
ซึ่งสามารถแยกตามหน้าที่ได้เป็น 2
ลักษณะ คือ
1.3.1. หน่วยเก็บข้อมูลหลักหรือความจำหลัก(Primary
Storage หรือ Main
Memory) ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อเตรียมส่งให้หน่วยประมวลผลกลางทำ การประมวลผล
และรับผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลเพื่อส่งออกหน่วยแสดงข้อมูลต่อไป
1.3.2. หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง(Secondary
Storage) เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูล
หรือโปรแกรมที่จะป้อนเข้าสู่หน่วยความจำหลักภายในเครื่องก่อนทำการประมวลผล โดยซีพียูและเก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลนั้นด้วย
ปัจจุบันรู้จักในนามฮาร์ดดิสก์(Hard disk) หรือแผ่นฟร็อปปีดิสก์(Floppy
Disk)
1.4 หน่วยแสดงข้อมูลหรือเอาต์พุต(Output
Unit) ทำหน้าที่ในการแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล
ได้แก่ จอภาพ และเครื่องพิมพ์ เป็นต้น ทั้ง 4ส่วนจะเชื่อมต่อกันด้วยบัส (Bus)ere
to edit. Picture
2. ซอฟต์แวร์ (SOFTWARE) ซอฟต์แวร์
คือโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน รวมไปถึงการควบคุมการทำงาน
ของอุปกรณ์แวดล้อมต่างๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม การ์ดอินเตอร์เฟสต่าง
ๆ เป็นต้น ซอฟต์แวร์ เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นจับต้องไม่ได้
แต่รับรู้การทำงานของมันได้ ซึ่งต่างกับ ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
ที่สามารถจับต้องได้ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
2.1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) คือโปรแกรม ที่ใช้ในการควบคุมระบบการ ทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด
เช่น การบูตเครื่อง การสำเนาข้อมูล การจัดการระบบของดิสก์
ชุดคำสั่งที่เขียนเป็นคำสั่งสำเร็จรูป โดยผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์
และมีมาพร้อมแล้วจากโรงงานผลิต การทำงานหรือการประมวลผลของซอฟต์แวร์เหล่านี้
ขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ระบบของซอฟต์แวร์เหล่านี้
ออกแบบมาเพื่อการปฏิบัติควบคุม และมีความสามารถในการยืดหยุ่น
การประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
2.1.1. โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System) เป็นโปรแกรมที่ใช้ควบคุมและติดต่อกับอุปกรณ์ต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์
โดยเฉพาะการจัดการระบบของดิสก์ การบริหารหน่วยความจำของระบบ
ถ้าขาดซอฟต์แวร์ชนิดนี้ จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้
ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ โปรแกรมระบบปฏิบัติการ Unix
Linux DOS และ Windows (เวอร์ชั่นต่าง
ๆ เช่น 95 98 XP Vista ) เป็นต้น
2.1.2. ตัวแปลภาษา (Translator) จาก Source Code ให้เป็น
Object Code (แปลจากภาษาที่มนุษย์เข้าใจ
ให้เป็นภาษาที่เครื่องเข้าใจ) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูง
ซึ่งเป็นภาษาใกล้เคียงภาษามนุษย์ ให้เป็นภาษาเครื่องก่อนที่จะนำไปประมวลผล
ตัวแปลภาษาแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ คอมไพเลอร์ (Compiler) และอินเตอร์พีทเตอร์ (Interpeter) คอมไพเลอร์จะแปลคำสั่งในโปรแกรมทั้งหมดก่อน
แล้วทำการลิ้ง(Link) เพื่อให้ได้คำสั่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ
ส่วนอินเตอร์พีทเตอร์จะแปลทีละประโยคคำสั่ง แล้วทำงานตามประโยคคำสั่งนั้น
การจะเลือกใช้ตัวแปลภาษาแบบใดนั้น จะขึ้นอยู่กับภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม
2.1.3. ยูติลิตี้ โปรแกรม (Utility
Program) คือซอฟต์แวร์เสริมช่วยให้เครื่องทำงานมีประสิทธิภาพ
มากขึ้น เช่น ช่วยในการตรวจสอบดิสก์ ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลในดิสก์
ช่วยสำเนาข้อมูล ช่วยซ่อมอาการชำรุดของดิสก์ ช่วยค้นหาและกำจัดไวรัส ฯลฯ เป็นต้น
2.1.4. ติดตั้งและปรับปรุงระบบ (Diagonostic
Program) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการติดตั้งระบบ
เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อและใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ที่นำมาติดตั้งระบบ ได้แก่
โปรแกรมSetupและ Driver
ต่าง
2.2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application
Software) คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ
ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น
ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
2.2.1. ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน(Special Purpose Software) คือ
โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ บางที่เรียกว่า User’s
Program เช่น
โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน โปรแกรมระบบเช่าซื้อ โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง
เป็นต้น ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มักจะมีเงื่อนไข
หรือแบบฟอร์มแตกต่างกันออกไปตามความต้องการหรือกฏเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้
2.2.2. ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป(General
Purpose Software) เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้จัดทำไว้
เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่างๆ ทั่วไป โดยผู้ใช้คนอื่นๆ
สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลของตนได้ แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลง
หรือแก้ไขโปรแกรมได้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเอง ซึ่งเป็นการประหยัดเวลา
แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรม
ดังนั้นการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจึงเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
ตัวอย่างโปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้ได้แก่ MS-Office, Adobe Photosho, Internet Explorer และ เกมส์ต่างๆ เป็นต้น
3. บุคลากร (PEOPLEWARE) บุคลากรจะเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดถึงประสิทธิภาพถึงความสำเร็จและความคุ้มค่าในการใช้งานคอมพิวเตอร์
ซึ่งสามารถแบ่งบุคลากรตามหน้าที่เกี่ยวข้องตามลักษณะงานได้ 6 ด้าน ดังนี้
3.1.
นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (Systems Analyst and Designer : SA) ทำหน้าที่ศึกษาและรวบรวมความต้องการของผู้ใช้ระบบ
และทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้ระบบและนักเขียนโปรแกรมหรือปรับปรุงคุณภาพงานเดิม
นักวิเคราะห์ระบบต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์
พื้นฐานการเขียนโปรแกรม
และควรจะเป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
3.2. โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือบุคคลที่ทำหน้าที่เขียนซอฟต์แวร์ต่างๆ (Software)
หรือเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งงานให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้
โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้
3.3. ผู้ใช้ (User) เป็นผู้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์
ซึ่งจะเป็นผู้ปฏิบัติหรือกำหนดความต้องการในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ว่าทำงานอะไรได้บ้าง
ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป จะต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง
และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ
3.4. ผู้ปฏิบัติการ (Operator) สำหรับระบบขนาดใหญ่
เช่น เมนเฟรม
จะต้องมีเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ที่คอยปิดและเปิดเครื่อง และเฝ้าดูจอภาพเมื่อมีปัญหาซึ่งอาจเกิดขัดข้อง จะต้องแจ้ง System Programmer ซึ่งเป็นผู้ดูแลตรวจสอบแก้ไขโปรแกรมระบบควบคุมเครื่องอีกทีหนึ่ง
3.5. ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database
Administrator : DBA) บุคคลที่ทำหน้าที่ดูแลข้อมูลผ่านระบบจัดการฐานข้อมูล
ซึ่งจะควบคุมให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น
นอกจากนี้ยังทำหน้าที่กำหนดสิทธิการใช้งานข้อมูล
พร้อมทั้งดูแลดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ให้ทำงานอย่างปกติด้วย
3.6. ผู้จัดการระบบ (System Manager) คือ
ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน เป็นผู้ที่มีความหมายต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานเป็นอย่างมาก
4. ข้อมูลและสารสนเทศ
4.1. ข้อมูล (DATA) หมายถึง
ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วใช้ตัวเลขตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์ ต่างๆ
ทำความหมายแทนสิ่งเหล่านั้น เช่น
- คะแนนสอบวิชาภาษาไทยของนักเรียน
- อายุของพนักงานในบริษัทชินวัตรจำกัด
- ราคาขายของหนังสือในร้านหนังสือดอกหญ้า
- คำตอบที่ผู้ถูกสำรวจตอบในแบบสอบถาม
4.2. สารสนเทศ (INFORMATION) หมายถึง ข้อสรุปต่างๆ
ที่ได้จากการนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ หรือผ่านวิธีการที่ได้กำหนดขึ้น
ทั้งนี้เพื่อนำข้อสรุปไปใช้งานหรืออ้างอิง เช่น
- เกรดเฉลี่ยของวิชาภาษาไทยของนักเรียน
- อายุเฉลี่ยของพนักงานในบริษัทชินวัตรจำกัด
- ราคาขายสูงสุดของหนังสือในร้านหนังสือดอกหญ้า
- ข้อสรุปจากการสำรวจคำตอบในแบบสอบถาม
5. กระบวนการทำงาน (PROCEDURE) องค์ประกอบด้านนี้หมายถึงกระบวนการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้จำเป็นต้องทราบขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้งานที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
ซึ่งอาจจะมีขั้นตอนสลับซับซ้อนหลายขั้นตอน
ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องมีคู่มือปฏิบัติงาน เช่น คู่มือผู้ใช้ ( user
manual ) หรือคู่มือผู้ดูแลระบบ ( operation
manual ) เป็นต้น
หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
ระบบการทํางานของคอมพิวเตอร์
การทํางานของคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
1. หน่วยรับข้อมูล (Input
Unit) ทําหน้าที่ในการรับข้อมูลหรือคําสั่งจากภายนอกเข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจํา
เพื่อเตรียมประมวลผลข้อมูลที่ต้องการ
ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการนําข้อมูลที่ใช้กันอยู่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น
มีอยู่หลายประเภทด้วยกันสําหรับอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี ดังต่อไปนี้
- Keyboard
- Mouse
- Disk Drive
- Hard Drive
- CD-Rom
- Magnetic Tape
- Card Reader
- Scanner
2. หน่วยประมวลผลกลาง
(Central Processing Unit) ทําหน้าที่ในการคํานวณและประมวลผล
แบ่งออกเป็น 2 หน่วยย่อย คือ
- หน่วยควบคุม ทําหน้าที่ในการดูแล
ควบคุมลําดับขั้นตอนของการประมวลผล และการทํางานของอุปกรณ์ต่างๆ
ภายในหน่วยประมวลผลกลาง
และช่วยประสานงานระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง กับอุปกรณ์นําเข้าข้อมูล
อุปกรณ์ในการแสดงผล และหน่วยความจําสํารอง
- หน่วยคํานวณและตรรก
ทําหน้าที่ในการคํานวณและเปรียบเทียบข้อมูลต่างๆ ที่ส่งมาจากหน่วยควบคุม
และหน่วยความจํา
3. หน่วยความจำ (Memory) ทําหน้าที่ในการเก็บข้อมูลหรือคําสั่งต่างๆ ที่รับจากภายนอกเข้ามาเก็บไว้
เพื่อประมวลผลและยังเก็บผลที่ได้จากการประมวลผลไว้เพื่อแสดงผลอีกด้วย
ซึ่งแบ่งออกเป็นหน่วยความจํา เป็นหน่วยความจําที่มีอยู่ ในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์
ทําหน้าที่ในการเก็บคําสั่งหรือข้อมูล แบ่งออกเป็น
- ROM หน่วยความจําแบบถาวร
- RAM หน่วยความจําแบบชั่วคราว
- หน่วยความจําสํารอง เป็นหน่วยความจําที่อยู่นอกเครื่อง
มีหน้าที่ช่วยให้หน่วยความจําหลักสามารถเก็บ ข้อมูลได้มากขึ้น
4. หน่วยแสดงผล (Output
Unit) ทําหน้าที่ในการแสดงผลลัทธ์ที่ได้หลังจากการคํานวณและประมวลผล
สําหรับอุปกรณ์ที่ ทําหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูลที่ได้นั้นมีต่อไปนี้
- Monitor จอภาพ
- Printer เครื่องพิมพ์
- Plotter เครื่องพิมพ์ที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลต่างๆ
ที่ต้องการลงกระดาษ
2.3. ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์
ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ในรุ่นปัจจุบัน
ก็ยังถือว่า อยู่ในคอมพิวเตอร์รุ่นที่ ๔ นี้ ในปัจจุบัน
คอมพิวเตอร์ได้ใช้วงจรเบ็ดเสร็จขนาดใหญ่มาก (very large scale integrated
circuit) ซึ่งสามารถบรรจุทรานซิสเตอร์ได้มากกว่าสิบล้านตัว
เราสามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ในรุ่นปัจจุบันออกเป็น ๔ ประเภทดังต่อไปนี้
- ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)
- เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe
computer)
- มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer)
- ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer)
หรือ พีซี (personal
computer หรือ PC
) ซูเปอร์คอมพิวเตอร์
ถือได้ว่า
เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วมาก และมีประสิทธิภาพสูงสุด
เมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ชนิดอื่นๆ เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีราคาแพงมาก
มีขนาดใหญ่ สามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้หลายแสนล้านครั้งต่อวินาที
และได้รับการออกแบบ เพื่อให้ใช้แก้ปัญหาขนาดใหญ่มากทางวิทยาศาสตร์และทางวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างรวดเร็ว
เช่น การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นเวลาหลายวัน
การศึกษาผลกระทบของมลพิษกับสภาวะแวดล้อม ซึ่งหากใช้คอมพิวเตอร์ชนิดอื่นๆ
แก้ไขปัญหาประเภทนี้ อาจจะต้องใช้เวลาในการคำนวณหลายปีกว่าจะเสร็จสิ้น
ในขณะที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถแก้ไขปัญหาได้ ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น
เนื่องจากการแก้ปัญหาใหญ่ๆ จะต้องใช้หน่วยความจำสูง ดังนั้น
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จึงมีหน่วยความจำที่ใหญ่มากๆ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีหลายประเภท
ตั้งแต่รุ่นที่มีหน่วยประมวลผล (processing unit) ๑ หน่วย
จนถึงรุ่นที่มีหน่วยประมวลผลหลายหมื่นหน่วย ซึ่งสามารถทำงานหลายอย่างได้พร้อมๆ กัน
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มีสมรรถภาพที่ต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์มาก
แต่ยังมีความเร็วสูงมาก และมีประสิทธิภาพสูงกว่ามินิคอมพิวเตอร์
หรือไมโครคอมพิวเตอร์ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถให้บริการผู้ใช้จำนวนหลายร้อยคนพร้อมๆ
กัน ฉะนั้น จึงสามารถใช้โปรแกรมจำนวนนับร้อยแบบในเวลาเดียวกันได้
โดยเฉพาะถ้าต่อเครื่องเข้าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถใช้ได้จากทั่วโลก
ปัจจุบัน องค์กรใหญ่ๆ เช่น ธนาคาร จะใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ ในการทำบัญชีลูกค้า
หรือการให้บริการจากเครื่องฝากและถอนเงินแบบอัตโนมัติ (automatic
teller machine) เนื่องจากเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ถูกใช้งานมากในการบริการผู้ใช้พร้อมๆ
กัน เมนเฟรมคอมพิวเตอร์จึงต้องมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก
มินิคอมพิวเตอร์ คือ
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กๆ ซึ่งสามารถบริการผู้ใช้งานได้หลานคนพร้อมๆ กัน
แต่จะไม่มีสมรรถภาพเพียงพอ
ที่จะบริการผู้ใช้ในจำนวนที่เทียบเท่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้
จึงทำให้มินิคอมพิวเตอร์เหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลาง หรือสำหรับแผนกหนึ่ง
หรือสาขาหนึ่งขององค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น
ไมโครคอมพิวเตอร์ คือ
คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กแบบขนาดตั้งโต๊ะ (desktop computer) หรือขนาดเล็กกว่านั้น อาทิเช่น
ขนาดสมุดบันทึก (notebook computer) และขนาดฝ่ามือ (palmtop computer) ไมโครคอมพิวเตอร์ได้เริ่มมีขึ้นในปีพ.ศ.
๒๕๑๘ ถึงแม้ว่าในระยะหลัง เครื่องชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพที่สูง
แต่เนื่องจากมีราคาไม่แพงและมีขนาดกระทัดรัด
ไมโครคอมพิวเตอร์จึงยังเหมาะสำหรับใช้ส่วนตัว
ไมโครคอมพิวเตอร์ได้ถูกออกแบบสำหรับใช้ที่บ้าน โรงเรียน และสำนักงานสำหรับที่บ้าน
เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการทำงบประมาณรายรับรายจ่ายของครอบครัวช่วยทำการบ้านของลูกๆ
การค้นคว้าข้อมูลและข่าวสาร การสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic
mail หรือ E -
mail) หรือโทรศัพท์ทางอินเทอร์เน็ต
(internet
phone) ในการติดต่อทั้งในและนอกประเทศ
หรือแม้กระทั่งทางบันเทิง เช่น การเล่นเกมบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ สำหรับที่โรงเรียน
เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยสอนนักเรียนในการค้นคว้าข้อมูลจากทั่วโลกสำหรับที่สำนักงาน
เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยพิมพ์จดหมายและข้อมูลอื่นๆ เก็บและค้นข้อมูล
วิเคราะห์และทำนายยอดซื้อขายล่วงหน้า
2.4. ยุคของคอมพิวเตอร์
เมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยีทางวิศวกรรมหลายท่านอาจนึกถึงคอมพิวเตอร์
ในหัวข้อวิวัฒนาการเทคโนโลยีวิศวกรรมจึงกล่าวถึงวิวัฒนาการทางคอมพิวเตอร์
พัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีทางด้าน คอมพิวเตอร์ เมื่อ 50 ปีที่แล้วมา
มีคอมพิวเตอร์ขึ้นใช้งาน ต่อมาเกิดระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่เกิดขึ้นมากมาย
และมีแนวโน้มการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
เราสามารถแบ่งพัฒนาการคอมพิวเตอร์จากอดีตสู่ปัจจุบัน
สามารถแบ่งเป็นยุคก่อนการใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิคส์
และยุคที่เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิคส์โดยแบ่งเป็น 5 ยุค จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้
1. คอมพิวเตอร์ยุคแรก
หรือ คอมพิวเตอร์ยุคหลอดสูญญากาศ (พ.ศ.2488 - 2501) อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2501
เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย
ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก
การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน
เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK
I), อีนิแอค (ENIAC),
ยูนิแวค (UNIVAC
ในปี พ.ศ. 2486 วิศวกรสองคน คือ จอห์น มอชลี (John
Mouchly) และ เจ เพรสเปอร์
เอ็ดเคิร์ท (J.Presper Eckert) ได้พัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์
และจัดได้ว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานทั่วไปเครื่องแรกของโลก ชื่อว่า
อินิแอค (Electronic Numerical Intergrator And Calculator : ENIAC)
ในปี พ.ศ. 2488
จอห์น วอน นอยแมน (John
Von Neumannได้เสนอแนวคิดในการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยความจำ
เพื่อใช้เก็บข้อมูลและโปรแกรมการทำงานหรือชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์จะทำงานโดยเรียกชุดคำสั่งที่เก็บไว้ในหน่วยความจำมาทำงาน
หลักการนี้เป็นหลักการที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน
มาร์ค วัน
ฮีนิแอค
ยูนิแวค
2.
คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง หรือ คอมพิวเตอร์ยุคทรานซิสเตอร์ (พ.ศ.2500-2507) คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง อยู่ระหว่างปี
พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์
โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ
มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก
ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น
โดยสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้
เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน
นักวิทยาศาสตร์ของห้องปฏิบัติการเบลแห่งสหรัฐอเมริกา
ได้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์สำเร็จ
ซึ่งมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการสร้างคอมพิวเตอร์
เพราะทรานซิสเตอร์มีขนาดเล็กใช้กระแสไฟฟ้าน้อย มีความคงทนและเชื่อถือได้สูง และราคาถูก
ได้มีการผลิตคอมพิวเตอร์เรียกว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์
สำหรับประเทศไทยมีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในยุคนี้ พ.ศ. 2507
โดยจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยนำเข้ามาใช้ในการศึกษา
ในระยะเวลาเดียวกันสำนักงานสถิติแห่งชาติก็นำมาเพื่อใช้ในการคำนวณสำมะโนประชากร
นับเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นแรกที่ใช้ในประเทศไทย
3.
คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม หรือ คอมพิวเตอร์ยุควงจรรวม (พ.ศ.2508-2512) คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม อยู่ระหย่างปี
พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated
Circuit : IC) โดยวงจรรวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ภายในมากมายทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมากขึ้น
และสามารถสร้างเป็นโปรแกรมย่อย ๆ ในการกำหนดชุดคำสั่งต่างๆ
ทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีระบบควบคุมที่มีความสามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลาการทำงานให้กับงานหลายๆ อย่าง
ประมาณปี พ.ศ. 2508
ได้มีการพัฒนาสร้างทรานซิสเตอร์จำนวนมากลงบนแผ่นซิลิกอนขนาดเล็ก
และเกิดวงจรรวมบนแผ่นซิลิกอนที่เรียกว่า ไอซี
การใช้ไอซีเป็นส่วนประกอบทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง ราคาถูกลง จึงมีบริษัทผลิตคอมพิวเตอร์กันมากขึ้น
คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กลง เรียกว่า "มินิคอมพิวเตอร์"
4.
คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ หรือ คอมพิวเตอร์ยุควีแอลเอสไอ (พ.ศ.2513-2532) คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.
2513 จนถึงปัจจุบัน เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก(Very
Large Scale Integration : VLSI) เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่บรรจุทรานซิสเตอร์นับหมื่นนับแสนตัว
ทำให้ขนาดเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงสามารถตั้งบนโต๊ะในสำนักงานหรือพกพาเหมือนกระเป๋าหิ้วไปในที่ต่าง
ๆ ได้ ขณะเดียวกันระบบซอฟต์แวร์ก็ได้พัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้นมาก
มีโปรแกรมสำเร็จให้เลือกใช้กันมากทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานอย่างกว้างขวาง
เทคโนโลยีทางด้านการผลิตวงจรอิเล็กทรอนิคส์ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
มีการสร้างวงจรรวมที่มีขนาดใหญ่มารวมในแผ่นซิลิกอน เรียกว่า วีแอลเอสไอ (Very
Large Scale Intergrated circuit : VLSI) เป็นวงจรรวมที่รวมเอาทรานซิสเตอร์จำนวนล้านตัวมารวมอยู่ในแผ่นซิลิกอนขนาดเล็ก
และผลิตเป็นหน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อน เรียกว่า ไมโครโปรเซสเซอร์ (microprocessor)
การใช้ VLSI
เป็นวงจรภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
ทำให้ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์สูงขึ้น เรียกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์
ซึ่งเป็นเครื่องที่แพร่หลายและมีผู้ใช้งานกันทั่วโลก
การที่คอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถสูง
เพราะ VLSI
เพียงชิพเดียวสามารถสร้างเป็นหน่วยประมวลผลของเครื่องทั้งระบบหรือเป็นหน่วยความจำที่มีความจุสูงหรือเป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานต่าง
ๆ ขณะเดียวกันพัฒนาของฮาร์ดดิสก์ก็มีขนาดเล็กลงแต่ราคาถูกลง
เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จึงมีขนาดเล็กลงปาล์มทอป (palm top) โน็ตบุ๊ค (Notebook)
5.
คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า หรือ คอมพิวเตอร์ยุคเครือข่าย (พ.ศ.2533-ปัจจุบัน) คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า
เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น
โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่อง
สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์
คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial
Intelligence : AI) ประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น
และประเทศในทวีปยุโรปกำลังสนใจค้นคว้าและพัฒนาทางด้านนี้กันอย่างจริงจัง
เมื่อไมโครคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถสูงขึ้น ทำงานได้เร็ว การแสดงผล
การจัดการข้อมูล สามารถประมวลได้ครั้งละมาก ๆ
จึงทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายงานพร้อมกัน (multitasking) ขณะเดียวกันก็มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในองค์การโดยใช้เครือข่ายท้องถิ่นที่เรียกว่า
Local
Area Network : LAN เมื่อเชื่อมหลายๆ กลุ่มขององค์การเข้าด้วยกันเกิดเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์การ
เรียกว่า อินทราเน็ต
และหากนำเครือข่ายขององค์การเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายสากลที่ต่อเชื่อมกันทั่วโลก
เรียกว่า อินเตอร์เน็ต (internet)
คอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบันจึงเป็นคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกัน ทำงานร่วมกัน
ส่งเอกสารข้อความระหว่างกัน สามารถประมวลผลรูปภาพ เสียง และวิดีทัศน์
ไมโครคอมพิวเตอร์ในยุคนี้จึงทำงานกับสื่อหลายชนิดที่เรียกว่าสื่อประสม (Multimedia)
2.5. รูปแบบการประมวลผลของคอมพิวเตอร์
พิจารณาตามลักษณะการประมวลข้อมูล
แบ่งได้ 3 ประเภท คือ
1. การประมวลผลส่วนบุคคล (Personal Computing)ไมโครคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer: PC) จะมีการประมวลผลโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวที่เป็นอิสระจากกัน
เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะไม่สามารถติดต่อสื่อสาร
เชื่อมโยงข้อมูลร่วมกันได้
ซึ่งหากต้องการใช้ข้อมูลร่วมกันจะต้องคัดลอกไปยังหน่วยความจำสำรอง เช่น แผ่นดิสก์
จากเครื่องเพื่อถ่านโอนสู่อีกเครื่องหนึ่ง
2. การประมวลผลแบบรวมศูนย์
(Centralized
Computing) เป็นระบบที่นำอุปกรณ์ประมวลผล
ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์มารวมไว้ในคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว
ใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์ชนิดเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe
Computer) โดยมีผู้ทำหน้าที่ควบคุมการประมวลผลเพียงผู้เดียว
ซึ่งเป็นที่ยุ่งยากมาก ต่อมาจึงมีการพัฒนาการประมวล โดยแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี คือ
2.1. การประมวลผลแบบแบทซ์ (Batch Processing) เป็นระบบที่ทำงานในลักษณะเตรียมการประมวลผลในขั้นต่อไป
โดยใช้อุปกรณ์ประเภท Input/output ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของCPU
เช่น เครื่องบันทึกเทป (Key
to Tape) เครื่องบันทึกจานแม่เหล็ก
(Key
to Disk) บัตรเจาะรู (Punched
Card) เป็นอุปกรณ์นำเข้าและอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลมีลักษณะการประมวลผลโดยมีการรวบรวมข้อมูลไว้ช่วงเวลาหนึ่งก่อนที่จะนำข้อมูลมาประมวลผลพร้อมกัน
การประมวลผลจะทำเป็นช่วงเวลา เช่น
การทำบัญชีเงินเดือนพนักงานทุกสิ้นเดือนระบบคิดดอกเบี้ยสะสม 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี ของธนาคาร
การบันทึกเกรดของนักศึกษาในแต่ละภาคเรียน
จนถึงภาคเรียนสุดท้ายจึงพิมพ์ใบรับรองเกรดเฉลี่ย
ข้อมูลการใช้โทรศัพท์มือถือภายในช่วงรอบบัญชี (1 เดือน) จะถูกเก็บสะสมจนสิ้นสุดรอบบัญชี
การประมวลผลแบบนี้จะไม่มีการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าระบบออฟไลน์ (Off-line System) มีข้อดี
คือช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้อุปกรณ์แต่ก็มีข้อเสีย คือ ข้อมูลจะไม่ทันสมัย
2.2. การประมวลผลแบบออนไลน์ (On-line
Processing) เป็นวิธีที่ผู้ใช้สามารถใช้งานพร้อมกันได้หลายคน
(Multi-user)
จะประมวลผลทันทีเมื่อรับข้อมูลเข้ามา
โดยไม่ต้องรอรวมข้อมูลหรือสะสมข้อมูลไว้ก่อน
โดยมีการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่อยู่ในสถานที่อื่นมีความสามารถในการทำงานบางอย่างได้
เช่น เครื่องเอทีเอ็ม เครื่องตัดยอดของสินค้าทุกครั้งเมื่อมีการสั่งซื้อ เป็นต้น
ข้อดี คือ ทำให้ได้ข้อมูลที่ทันสมัยเป็นปัจจุบันตลอดเวลา ข้อเสียคือ
หากมีข้อมูลมาก การประมวลผลช้าลง
เนื่องจากมีเพียงเครื่องแม่ข่ายเท่านั้นที่ทำการประมวลผล
3. การประมวลผลแบบกระจาย (Distributed Computing)เมื่อมีการใช้งานคอมพิวเตอร์ในองค์กรที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
อาจมีการขยายสาขาออกไป ทำให้มีระบบการทำงานที่มีขนาดใหญ่
จึงมีการนำการประมวลผลแบบกระจายจากศูนย์กลางมาใช้เพื่อชดเชยข้อจำกัดของการประมวลแบบรวมศูนย์ที่ค่อนข้างล่าช้า
ส่งผลให้สามารถจัดสรรทรัพยากรเพื่อกระจายและแจกจ่ายการใช้งานข้อมูลต่างๆ
ร่วมกันได้ทั่วทั้งองค์กรและรวดเร็วมากขึ้น
รวมทั้งระหว่างหน่วยงานย่อยขององค์กรด้วย เช่น ฐานข้อมูล ข่าวสาร
เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ เครื่องโทรสาร และเครื่องสแกนเนอร์ เป็นต้น
2.6. คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติที่สำคัญ 5
ประการดังนี้
1. การทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic machine) การจัดเก็บข้อมูลที่บันทึกผ่านทางแป้นพิมพ์หรืออุปกรณ์อื่น
ๆ
ข้อมูลเหล่านี้จะถูกแปลงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและสามารถประมวลผลได้
และเมื่อคอมพิวเตอร์ประมวลผลเรียบร้อยแล้วข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้าจะแปลกกลับให้เป็นรูปแบบที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้
2. การทำงานด้วยความเร็วสูง
(Speed) เนื่องจากการทำงานของคอมพิวเตอร์เป็นระบบ อิเล็กทรอนิกส์
ดังนั้นการดำเนินงานต่าง ๆ จึงสามารถกระทำได้อย่างรวดเร็ว
(มากกว่าพันล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที)
3. ความถูกต้องแม่นยำเชื่อถือได้
(Accuracy and Reliability) คอมพิวเตอร์จะทำงานตามที่คำสั่งที่มนุษย์เขียนโปรแกรมหรือคำสั่งไว้
ถ้าผู้ใช้ป้อนข้อมูลหรือชุดคำลั่งมีความถูกต้อง ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก็จะมีความถูกต้องเชื่อถือได้
4. การเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก
(Storage) หน่วยความจำที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่บันทึกไป
ความสามารถในจัดการจัดเก็บข้อมูลนี้จะขึ้นอยู่กับขนาดของคอมพิวเตอร์ เช่น
เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าหมื่นล้านตัวอักษร
5. การสื่อสารเชื่อมโยงข้อมูล
(Communication) คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ
และสามารถทำงานไหลลากหลายมากขึ้นกว่าการใช้คอมพิวเตอร์ระบบเดียว เช่น
การนำคอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเพื่อการสืบค้น
2.7. ข้อจำกัดของคอมพิวเตอร์
ข้อจำกัดและประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
ข้อจำกัดของคอมพิวเตอร์
1. การวางระบบคอมพิวเตอร์ต้องใช้เวลามาก
การที่หน่วยงานใดตัดสินใจนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานนั้น
ไม่ใช่ว่าจะนำเข้ามาใช้งานได้เลยทันที แต่ต้องมีการวางระบบงานกันเสียก่อน
ว่าจะนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย ในการทำงานด้านใดบ้าง แล้วยังจะต้องมีการเขียนโปรแกรมคำสั่ง
เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ ทำงานได้ตามที่ออกแบบไว้ ซึ่งขั้นตอนในการวางระบบงาน
จำเป็นต้องใช้เวลาพอสมควร
2. การรบกวนระบบงานปกติ
เมื่อมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในหน่วยงาน ที่ไม่เคยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์มาก่อน
แน่นอนจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบงานเดิม ที่เคยเป็นอยู่
เช่นการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน หรือคุณสมบัติของพนักงาน
โดยอาจมีการส่งพนักงานไปฝึกอบรมการใช้งานคอมพิวเตอร์ เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงนี้
มีผลกระทบถึง จิตใจของพนักงาน และอาจสร้างความไม่พอใจ และความวุ่นวายหลายประการได้
ในระยะแรกๆ ที่ต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับระบบงานใหม่
3. การทำงานขึ้นอยู่กับมนุษย์
คอมพิวเตอร์เป็นได้แค่เครื่องมือช่วยมนุษย์ ในการทำงาน
ทั้งนี้เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่มีความคิดเป็นของตัวเอง
และทำงานเฉพาะที่ได้รับคำสั่งจากมนุษย์เท่านั้น ไม่ว่างานที่สั่งให้ทำจะถูกหรือผิด
เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่รู้จักคิดหรือรับปรุงวิธีการทำงานให้ดีขึ้น
นับเป็นข้อจำกัดอย่างหนึ่งของเครื่องคอมพิวเตอร์
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
1. งานธุรกิจ เช่นบริษัท ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ตลอดจนโรงงานต่างๆ
ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัญชีงานประมวลคำ และติดต่อกับหน่วยงานภายนอกผ่านระบบโทรคมนาคม
นอกจากนี้งานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ก็ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการ ควบคุมการผลิต
และการประกอบชิ้นส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โรงงานประกอบรถยนต์
ซึ่งทำให้การผลิตมีคุณภาพดีขึ้นบริษัทยังสามารถรับ หรืองานธนาคาร
ที่ให้บริการถอนเงินผ่านตู้ฝากถอนเงินอัตโนมัติ ( ATM ) และใช้คอมพิวเตอร์คิดดอกเบี้ยให้กับผู้ฝากเงิน
และการโอนเงินระหว่างบัญชี เชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่าย
2. งานวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข
สามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในนำมาใช้ในส่วนของการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่น
งานศึกษาโมเลกุลสารเคมี วิถีการโคจรของการส่งจรวดไปสู่อวกาศ หรืองานทะเบียน
การเงิน สถิติ และเป็นอุปกรณ์สำหรับการตรวจรักษาโรคได้
ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำกว่าการตรวจด้วยวิธีเคมีแบบเดิม และให้การรักษาได้รวดเร็วขึ้น
3.
งานคมนาคมและสื่อสาร ในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทางจะใช้คอมพิวเตอร์ในการจองวันเวลา
ที่นั่ง ซึ่งมีการเชื่อมโยง ไปยังทุกสถานีหรือทุกสายการบินได้
ทำให้สะดวกต่อผู้เดินทางที่ไม่ต้องเสียเวลารอ
อีกทั้งยังใช้ในการควบคุมระบบการจราจร เช่น ไฟสัญญาณจราจร และ การจราจรทางอากาศ
หรือในการสื่อสารก็ใช้ควบคุมวงโคจรของดาวเทียมเพื่อให้อยู่ในวงโคจร
ซึ่งจะช่วยส่งผลต่อการส่งสัญญาณให้ระบบการสื่อสารมีความชัดเจน
4.
งานราชการ เป็นหน่วยงานที่มีการใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยมีการใช้หลายรูปแบบ
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาทและหน้าที่ของ หน่วยงานนั้นๆ เช่น
กระทรวงศึกษาธิการมีการใช้ระบบประชุมทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์,กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ได้จัดระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมโยงไปยังสถาบันต่างๆ , กรมสรรพากร
ใช้จัดในการจัดเก็บภาษี บันทึกการเสียภาษี เป็นต้น
5.
การศึกษา ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการเรียนการสอน ซึ่งมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการสอนในลักษณะบทเรียน
CAI หรืองานด้านทะเบียน
ซึ่งทำให้สะดวกต่อการค้นหาข้อมูลนักเรียน
การเก็บข้อมูลยืมและการส่งคืนหนังสือห้องสมุด
ที่มาของข้อมูล
https://sites.google.com/site/mathematics551/home/khxmphiwtexr-pheux-kar-suksa/khx-cakad-laea-prayochn-khxng-khxmphiwtexr
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น